Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article

Modified Atmosphere Packaging หรือ MAP ภาค 2
การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ  (ภาคการผลิตและการเก็บรักษา)

            จากบทความแรก บริษัทออเร้นท์อินโนเวชั่น ได้กล่าวถึง การปรัปบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ของก๊าซชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับจากท่านผู้อ่านเป็นอย่างดี ดังนั้นบทความนี้ เราจึงใคร่แนะนำท่านผู้อ่าน ได้เจาะลึกถึงขั้นตอนการผลิตและการเก็บรักษา 

                  เราจะกล่าวถึงก๊าซ  Gas ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุดในปัจจุบันนั้นก็คือ ก๊าซไนโตรเจน Nitrogen และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  Carbon Dioxide ซึ่งโดยทั่วไปก๊าซทั้งสองชนิดนี้ มักจะถูกพ่นเข้าไปแทนที่อากาศ Air ภายในภาชนะบรรจุภัณฑ์ เพื่อทำการไล่ก๊าซออกซิเจน Oxygen ออกไปให้ได้มากที่สุด และนำก๊าซทั้งสองชนิดที่กล่าวถึงข้างต้น มาแทนที่ก๊าซออกซิเจน Oxygen ในบรรจุภัณฑ์ Packaging ด้านใน โดยกระบวนการนี้เป็นการลดปฏิกิริยาที่ออกซิเจน Oxygen จะทำปฏิกิริยากับอาหารด้านใน หรือเราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ออกซิเดชั่น Oxidation Reaction ซึ่งมันจะมีผลกระทบมากกับอาหารที่มีไขมัน เป็นส่วนประกอบอยู่ เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ นมผง หรือนมข้นหวาน เป็นต้น

 

                สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการปรับสมดุลของบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้

1.  เพิ่มประสิทธิภาพอายุการเก็บรักษา และเป็นการถนอมอาหารเพื่อลดการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์ คือ เมื่อเราสามารถลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น Oxidation Reaction โดยการแทนที่ก๊าซไนโตรเจน Nitrogen ในบรรจุภัณฑ์ ไขมันหรือน้ำมันในบรรจุภัณฑ์อาหารก็จะลดการทำปฎิกิริยาลง ทำให้อาหารไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ไม่มีสี กลิ่น และรสชาติของผลิตภัณฑ์ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ และลดการถูกตีกลับของสินค้า

2.  ลดปริมาณการใช้วัตถุเจือปนในอาหาร  โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ปฏิกิริยาออก
ซิเดชั่
นOxidation Reaction มักจะเติมวัตถุเพื่อลดการเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น Oxidation Reaction ซึ่งวัตถุเจือปนนี้เราเรียกว่า  BHA ดังนั้นเมื่อเราใส่ก๊าซไนโตรเจน Nitrogen หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide ลงไปแทนที่ออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ ทางผู้ผลิตก็สามารถที่จะยกเลิกการใส่วัตถุเจือปนชนิดนี้ลงได้ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจความปลอดภัยในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นมากขึ้น

3.  ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่ง และขั้นตอนการบรรจุ  เมื่อก๊าซไนโตรเจน Nitrogen หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide เข้าไปแทนที่ก๊าซออกซิเจน Oxygen แล้ว อาหารจำพวกขนมขบเคี้ยว Snack จะทำให้ถุงพองตัวขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันผลิตภัณฑ์อาหารด้านใน ไม่ให้แตกหัก หรือเปลี่ยนรูปทรงไปจากเดิม ทำให้อาหารในบรรจุภัณฑ์ยังคงดูน่ารับประทาน

4.   ทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์หรือถุงขนมมีความสวยงาม สามารถออกแบบให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิตได้  เมื่อบรรจุภัณฑ์หรือถุงขนม Packaging มีรูปทรงที่ชวนมอง ทำให้นักการตลาดสามารถต่อยอดในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือสามารถจัดเรียงสินค้าเพื่อทำการตลาดต่อไป

 

         แต่ทั้งหมดที่ทางบริษัทออเร้นท์อินโนเวชั่นได้กล่าวมา ยังมีบางส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กันและเป็นตัวแปรสำคัญ ในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้วางไว้ เช่น คุณสมบัติของแผ่นฟิล์ม Film ที่นำมาใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ Packaging เช่น ต้องสามารถช่วยป้องกันการซึมผ่านของก๊าซต่างๆได้ดี ดังเช่น การซึมผ่านของก๊าซออกซิเจน Oxygen Transmission Rate, การซึมผ่านของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate หรือการซึมผ่านของก๊าซชนิดอื่น Gas Transmission Rateโดยควรจะเลือกฟิล์มให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าที่ต้องการควบคุมก๊าซในภาชนะบรรจุ Packaging รวมทั้งควรป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate หรือความชื้น Moistureได้ดีอีกด้วย รวมทั้งต้องคำนึงถึงอุณหภูมิ แสง ความชื้นในผลิตภัณฑ์ และเชื้อจุลินทรีย์  (Microbiological State) ที่อาจปะปนอยู่ในอาหาร

  

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Modified Atmosphere Packaging

 

 

 

 

การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ

 

 

สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

Headspace Analyzers

 

 

 

กลับไปหน้า

Homepage

 

 

 

   

 

กลับไปหน้า รวมบทความ

 

 

 

 

Article Pages   

 

 ชอบบทความกด Like ด้านบนเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานด้วยนะคะ




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )