H2S article

Hydrogen Sulfide Gas (H2S)

     คือก๊าซที่ไม่มีสี น้ำหนักโมเลกุล 34.04 มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงเรียกว่าก๊าซไข่เน่า มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ความหนาแน่นของไอก๊าซประมาณ 1.192 (อากาศมีความหนาแน่นเท่ากับ 1) ค่า LEL ประมาณ 4% มีความสามารถในการจุดลุกติดไฟได้เองหรือเผาไหม้ได้อย่างรุนแรง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ควรใช้ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ สเปรย์น้ำ ในการดับเพลิง ผลจากการเผาไหม้ จะเกิดออกไซด์ของซัลเฟอร์ ก๊าซ H2S เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำจะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดซัลฟูริก (H2SO4) หรือเราเรียกว่าไอกรดหรือฝนกรดนั้นเอง มีความสามารถในการกัดกร่อนโลหะและวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้

แหล่งกำเนิดของ Hydrogen Sulfide Gas (H2S)

     ก๊าซนี้เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น จากโรงงานฟอกหนัง โรงงานผลิตกาว โรงงานผลิตน้ำตาล การขุดเจาะน้ำมัน การกลั่นน้ำมัน การผลิตก๊าซชีวภาพ หรือเป็นก๊าซที่มีในน้ำเสีย น้ำเน่า และสิ่งโสโครก

ผลกระทบของ  Hydrogen Sulfide Gas (H2S)

     เป็นก๊าซที่มีพิษร้ายแรง และมีการระคายเคือง เมื่อ Hydrogen Sulfide Gas (H2S) อยู่ในกระแสเลือดจะส่งผลทำให้ความสามารถในการนำพา ออกซิเจน Oxygen เข้าสู่ร่ายกายได้ลดน้อยลง

ข้อมูลเพิ่มเติมเครื่องวัดออกซิเจน  Oxygen Analyzer ควบคุมสภาวะการทำงานในห้องปฎิบัติการ

ผลกระทบเมื่อเราสัมผัสหรือสูดดม  Hydrogen Sulfide Gas (H2S)

 

 

ที่ระดับ 10 ppm

 

 จะเริ่มระคายเคืองตา

 

ที่ระดับ 50 ถึง 100 ppm

 

     จะมีผลต่อเยื่อนัยน์ตาเพิ่มขึ้น และ เริ่มมีความระคายเคืองที่ระบบการหายใจ หายใจลำบากขึ้น หลังจากหนึ่งชั่วโมงที่ได้สัมผัสหรือสูดดม

 

 ที่ระดับ 100 ppm

 

     จะเกิดอาการไอ, ระคายเคืองตา, สูญเสียการรับรู้กลิ่น หลังจากสูดดมไปในเวลา 2 ถึง 15 นาที ระบบการหายใจจะเริ่มขัดข้อง, หายใจลำบากขึ้น จะเริ่มเจ็บนัยน์ตาและมีอาการมึนงงตามมา หลังจากสูดดมไป 15 ถึง 30 นาที ตามมาด้วยอาการแสบคอหลังจาก 1ชั่วโมง และการสูดดมอย่างต่อเนื่องจะเริ่มมีผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงต่อมา

 

ที่ระดับ 200 ถึง 300 ppm

  

   จะมีผลต่อเยื่อนัยน์ตาและระบบการหายใจอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น หลังจากหนึ่งชั่วโมงที่ได้สัมผัสหรือสูดดม

 

ที่ระดับ 500 ถึง 700 ppm

 

    สูญเสียความสามารถในการควบคุมการสั่งการของสมอง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 ถึง 60 นาที

 

ที่ระดับ 700 ถึง 1,000 ppm

 

หมดสติอย่างรวดเร็ว, หยุดการหายใจและเสียชีวิต

 

ที่ระดับ 1,000 ถึง 2,000 ppm

 

    หมดสติทันที, หยุดการหายใจและเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่หยุดหายใจอาจจะรอดชีวิต ถ้าถูกแยกตัวออกมาจากบริเวณที่ได้รับก๊าซนั้นมาสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง

This information excerpted from the American National Standards Institute standard: Z37.2-1972

ข้อมูลเพิ่มเติม ก๊าซ H2S นี้เป็นสารที่ทำลายปอด ทรวงอก ระบบหายใจ ทางเดินอาหาร ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

 

 

 

 

 

 

 

 

การสาธิตการแยกผู้ป่วยที่ได้รับก๊าซ H2S

เครื่องวัดก๊าซอ้างอิง

  http://www.orangeth.com/H2S-Analyzer

 http://www.orangeth.com/Gasdetectors

 

ชอบบทความนี้กด Like ด้านบนเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยนะคะ

 




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )