พิษภัย VOCs article

บทความนี้ทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงพิษภัยของ VOC หรือ Volatile Organic Compounds และการหลีกเลี่ยง ดังนั้นทางผู้เขียนจะขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องหรือการวัด แต่ทางผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลกับทางแผนกขาย หรือเยี่ยมชมได้ตาม link สินค้าที่ทางบริษัทได้ทำการเชื่อมต่อให้กับทางลูกค้า

                VOC คือ VOC หรือ Volatile Organic Compounds คือ สารประกอบอินทรีย์ ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน Carbon และไฮโดรเจน Hydrogen เป็นองค์ประกอบหลัก ตามความหมายองค์การอนามัยโลก (The World Health Organization) มีอยู่ในอุปกรณ์หลากหลาย และมักพบมากในรูปแบบก๊าซ gas หรือการระเหย

                สาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds ที่เรามักพบบ่อยมากในชีวิตประจำวัน ได้แก่ Acetone, Benzene, Ethylene glycol, Formaldehyde, Methylene chloride, Perchloroethylene, Toluene, Xylene, 1,3-butadiene

                แหล่งที่เราสามารถพบ VOC หรือ Volatile Organic Compounds ได้ง่ายและใกล้ตัว ได้แก่ พรม กาว งานไม้ที่ถูกทำขึ้นรูปให้เหมือนไม้จากธรรมชาติ สีทาบ้าน เทปกาว น้ำยาทำละลาย เบาะผ้า พื้นไวนิล ปากกาเขียนไวท์บอร์ด อุปกรณ์ที่ทำจากยาง เป็นต้น

                และเรายังสามารถพบ VOC หรือ Volatile Organic Compounds ในปริมาณมากในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงผลิตสารเคมี แม้แต่ในน้ำมันเครื่องรถยนต์ หรือแม้แต่น้ำมันเชื้อเพลิง เราก็ยังพบ VOCs หรือ Volatile Organic Compounds

                พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่เรามักพบ VOC หรือ Volatile Organic Compounds ได้แก่ การทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาชนิดต่างๆ เช่น น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาล้างห้องน้ำ งานอดิเรก หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย ควันบุหรี่ บางครั้งยังมีการปนเปื้อนในอาหารบางชนิดที่เรารับประทาน และแหล่งที่เก็บสารเคมีหรือที่เก็บอุปกรณ์ทาสี กระป๋องสี น้ำยาเคลือบเงาต่างๆ เป็นต้น

ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อสูดดมสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds ในปริมาณไม่มากหรือในระยะเวลาอันสั้น ตารางด้านล่างจะแสดงให้ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกายจากน้อยไปมากเมื่อร่างกายได้รับสาร VOCs หรือ Volatile Organic Compounds ในระดับต่างๆ

 ระดับที่ 1 เกิดการระคายเคืองที่ลำคอ ตา และจมูก

 ระดับที่ 2 มีอาการมึนศีรษะ

 ระดับที่ 3 เกิดการต่อต้านจากร่างกาย และอยากอาเจียน

 ระดับที่ 4 มีอาการเวียนหัวอย่างรุนแรง

 ระดับที่ 5 หายใจติดขัด และอาจหมดสติ

 

เครื่องวัด voc

ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อสูดดมสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds ในปริมาณมากหรือในระยะเวลายาวนาน ตามตารางด้านล่างจะแสดงให้ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกายจากน้อยไปมากเมื่อร่างกายได้รับสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds ในปริมาณต่อเนื่องและเป็นเวลานาน


  เกิดโรคมะเร็ง (Cancer)

 ตับถูกทำลาย (Liver Damage)

 ไตถูกทำลาย (Kidney Damage)

  เกิดการเสียหายที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System Damage)

  วิธีที่จะหลีกเลี่ยง VOC หรือ Volatile Organic Compounds มีด้วยกัน 2 วิธีหลักๆ คือ

 1. ควบคุมแหล่งกำเนิด คือเคลื่อนย้าย หรือลดจำนวนอุปกรณ์ที่เป็นตัวทำให้เกิดสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds และซื้อของใช้ที่มีส่วนประกอบของสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds  ที่จำเป็นต้องใช้ในปริมาณพอเหมาะและอย่าสะสมในปริมาณมาก อ่านส่วนผสมใน product labels และพยายามลดการใช้สารเคมี ตรวจดูและควบคุมไม่ให้สาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds รั่วออกจากอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆ ท้ายสุดพยายามอยู่ในพื้นที่ ที่ไม่มีสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds

2. การระบายอากาศ Ventilation และควบคุมอากาศ

• เพิ่มการระบายอากาศ โดยการเปิดประตูหน้าต่าง และอาจใช้พัดลมระบายอากาศ ทำการไล่อากาศ ให้มีการไหลเวียนของอากาศ โดยคำนึงถึง การทำให้แหล่งที่อยู่ปราศจากสาร VOC หรือ Volatile Organic Compounds และหาแหล่งอากาศบริสุทธิ์เพื่อทำการถ่ายเทอากาศให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง

• พยายามปิดแหล่งจ่ายพลังงานต่างๆ เมื่อเลิกใช้ เช่นก๊าซ Gas หุงต้ม หรือ อย่าติดเคลื่อนยนต์ทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น

• ปรึกษาหรือแก้ไขแหล่งที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงาน โดยการเพิ่มการระบายอากาศ และตรวจ IAQ หรือ Indoor Air Quality อยู่เป็นประจำ

 เครื่องวัด voc

 

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

 http://www.orangeth.com/VOC-Detectors

 

 

 

ชอบบทความนี้กด Like ด้านบนเพื่อเป็นกำลังใจกับทีมงานด้วยนะคะ




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )