Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article

        จากบทความที่ผ่านมาทางบริษัทได้กล่าวถึงก๊าซหลายๆ ชนิด รวมถึงก๊าซออกซิเจนซึ่งมีความสำคัญในการหายใจของมนุษย์ แต่มีอีกหน้าที่หนึ่งของออกซิเจนที่ยังต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย คือ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการทำให้ติดไฟ  หรือเราอาจจะเรียกอีกอย่างว่า องค์ประกอบ 3 อย่างที่ทำให้เกิดการจุดติดไฟ  ซึ่งจะมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1. มีสารไวไฟในปริมาณเพียงพอที่จะจุดติดไฟได้ (Flammable Material in Ignitable Quantities)

2. มีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอให้เกิดการเผาไหม้ (Oxygen)

3. มีแหล่งจุดติดไฟ (Ignition Source) ทําให้เกิดพลังงานความร้อนที่มากพอกับส่วนผสมของ
เชื้อเพลิงและอากาศ ซึ่งการจุดติดไฟนี้สามารถเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น เปลวไฟ,
การ
สปาร์คของอุปกรณ์ไฟฟ้าความร้อนสูงสะสมและการถ่ายเทประจุจากไฟฟ้าสถิตย์ เป็นต้น

     สารแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการจุดติดไฟต่างกัน ดังนั้น การมีออกซิเจน การจุดติดไฟและสารไวไฟ รวมกันก็อาจจะไม่ทําให้เกิดการระเบิดหรือการลุกติดไฟขึ้นได้ คุณสมบัติที่สําคัญของสารไวไฟที่ปนเปื้อนในอากาศและทําให้เกิดสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้ (Explosive Atmosphere) จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้

1. Lower Explosive Limit (LEL) คือ ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สหรือไอระเหยขั้นต่ำที่ผสมกับอากาศ จนเกิดเป็นส่วนผสมที่เหมาะสมที่จะทําให้เกิดการระเบิดได้ (Explosive mixture) แต่ถ้ามีปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สไวไฟเจือปนในอากาศเข้มข้นน้อยกว่านี้จะไม่เพียงพอให้จุดติดไฟได้

2. Upper Explosive Limit (UEL) คือ ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สหรือไอระเหยมากที่สุดที่ผสมกับอากาศ จนเกิดเป็นส่วนผสมที่เหมาะสมที่จะทําให้เกิดการระเบิดได้ (Explosive mixture) แต่ถ้ามีปริมาณเปอร์เซ็นต์ของแก๊สไวไฟเจือปนในอากาศเข้มข้นมากกว่านี้ก็จะไม่เพียงพอให้จุดติดไฟได้เช่นกัน

ชื่อสารไวไฟ

Lower Explosive Limit (LEL)

Upper Explosive Limit (UEL)

Vapor Density

(Air=1.0)

Acetaldehyde

4.0

60.0

1.5

Acetic Acid

4.0

19.9

2.1

Acetic Anhydride

2.7

10.3

3.5

Acetone

2.5

13.0

2.0

Acetone Cyanohydrin

2.2

12.0

2.9

Acetonitrite

3.0

16.0

1.4

Acetylene

2.5

100.00

0.9

Flammable Limits Percent by Volume, อ้างอิงข้อมูลตามมาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) และ NEC (National Electric Code)

3. Flash Point คือ ค่าอุณหภูมิต่ำสุดที่ทําให้สารไวไฟในสภาพของเหลว เกิดการระเหยจนกลายเป็นไอระเหยในปริมาณเพียงพอให้เกิดการจุดติดไฟได้เหนือของเหลวนั้นๆ ของเหลวที่มีค่า Flash Point ต่ำกว่า 37.8 C (100 F) จะเรียกว่า “Flammable Liquid” ส่วนของเหลวที่มีค่า Flash Point สูงกว่า 37.8 C (100 F) จะเรียกว่า “Combustible Liquid” ถ้าเราจัดเก็บหรือใช้สารไวไฟในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าค่า Flash Point ก็จะไม่ทําให้เกิดสภาพของพื้นที่อันตรายขึ้นได้

4. Auto-Ignition Temperature คือ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่ทําให้แก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟซึ่งผสมอยู่ในบรรยากาศจะเกิดลุกติดไฟได้เองโดยไม่จําเป็นต้องมีประกายไฟ ในพื้นที่ที่มีการรั่วไหลของแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟ ถ้ามีการใช้งานเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทําให้เกิดความร้อนสูงที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง(Hot Spot) โดยความร้อนที่เกิดขึ้นนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าค่า Auto-Ignition Temperature ของแก๊สหรือไอระเหยนั้นๆ อาจจะทําให้สารไวไฟในบรรยากาศเกิดการลุกติดไฟขึ้นเองได้เช่นกัน

 5. Vapor Density คือ ความหนาแน่นของแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟเมื่อเทียบกับอากาศ ถ้าค่าความหนาแน่นของแก๊สหรือไอมากกว่า 1.0 แสดงว่า แก๊สหรือไอนี้หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดมีการรั่วไหล แก๊สหรือไอนี้จะลอยอยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้าค่าความหนาแน่นของแก๊สหรือไอน้อยกว่า 1.0 แสดงว่าแก๊สหรือไอชนิดนี้เบากว่าอากาศ เมื่อเกิดมีการรั่วไหล แก๊สหรือไอนี้จะลอยขึ้นสูง

      ดังนั้นเมื่อเราเข้าไปในพื้นที่สุ่มเสียงที่อาจจะมีไอระเหยของสารไวไฟ ขอให้เราตระหนักถึงหลักการและเหตุผลรวมถึงองค์ประกอบที่ได้แนะนำไว้ เพื่อทำให้เราปลอดภัยจากไอระเหยของสารไวไฟ ซึ่งอาจนำมาซึ่งความสูญเสียที่เราทุกคนไม่ปรารถนา

อ้างอิงข้อมูลจาก IEC, NEC และข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

 

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทความ กลับไปหน้ารวมบทความ 

ชอบบทความนี้กด Like ด้านบนเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยนะคะ




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )