Toluene พิษภัย

 

Toluene พิษภัย

 

 Toluene พิษภัย

โทลูอีนเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนคล้ายน้ำมันเบนซิน ไวไฟที่อุณหภูมิสูงกว่า 4.4°C ดังนั้นอุณหภูมิห้องจึงเป็นอันตรายจากไฟไหม้อย่างสำคัญที่ โทลูอีนผสมได้ง่ายกับตัวทำละลายอินทรีย์หลายชนิด แต่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ โทลูอีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และจะลอยอยู่บนผิวน้ำ

โทลูอีนควรเก็บในภาชนะบรรจุทนไฟ ติดฉลากชัดเจน และ เก็บแยกจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และสารรังสี และ เก็บในที่เย็น ไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง ไม่มีแหล่งติดไฟ พื้นที่จัดเก็บควรทำด้วยวัสดุทนไฟ มีอากาศถ่ายเท มีระบบควบคุมอุณหภูมิ

โทลูอีนมีกลิ่นคล้ายน้ำมันทินเดอร์ การใช้งาน จะใช้ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมสีน้ำมันเคลือบเงา กาว

                โทลูอีนถูกควบคุมโดย กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

  • การใช้ที่ผิดกฎหมายใช้เป็นตัวทำละลายในการผลิต amphetamine, cocaine, methaqualone, mecloqualone, phencyclidine, psilocin
  • การใช้ที่ถูกกฎหมาย ใช้เป็นตัวทำละลายในภาคอุตสาหกรรม ผลิตวัตถุระเบิด สีย้อม สารเคลือบ ใช้ผสมน้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ

      ผลต่อสุขภาพ 

 

ถ้าหายใจเข้าไป หากได้รับสารในปริมาณความเข้มข้นสูง จะมีผลต่อประสาทส่วนกลาง จะมีอาการอ่อนเพลีย มึนงง ไม่สามารถทรงตัวได้ ปวดศีรษะ หมดสติ และอาจถึงตายได้ เมื่อได้รับสารนี้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากจะเกิดความระคายเคืองตามเยื่อบุต่าง ๆ แล้ว จะมีอาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน สูญเสียความสามารถในการจำ การคิด และการควบคุมอารมณ์
ถ้าเข้าตา หากเป็นไอของสาร จะทำให้ตาระคายเคืองไปชั่วระยะ แต่ถ้าหากสารกระเด็นใส่ จะทำให้เจ็บปวด
หากถูกผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแห้งและระคายเคือง โทลูอีนสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้

 

ความเป็นพิษของสารโทลูอีน

1.หากสูดดมไอระเหยเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดผิดปกติ และมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต และถ้าสูดดมในระยะสั้น อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหารโดยปริมาณความเข้มข้นต่ำสุดที่เป็นอันตรายต่อระบบหายใจคือที่ระดับความเข้มข้น 10-15 ppm และระดับความเข้มต่ำสุดที่เป็นอันตรายต่อระบบสมองส่วนกลาง คือ 50 ppm และคนที่สูบบุหรี่และเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากโทลูอีนมากกว่าคนทั่วไป

2.หากสารโทลูอีนสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง และหากถูกเป็นเวลานาน ๆ ซ้ำที่เดิมจะทำให้ผิวหนังแห้งอักเสบเพราะสารโทลูอีนจะเข้าไปละลายชั้นไขมันในผิวหนัง

3.ถ้าไอระเหยของโทลูอีนเข้าตาควรล้างด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด โดยระดับความเข้มข้นของโทลูอีนและระยะเวลาที่ส่งผลต่อดวงตาเป็นดังนี้ ที่ระดับความเข้มข้น 300 ppm ระยเวลา 3-5 นาที และที่ระดับความเข้มข้น 100-150 ppm ระยะเวลา 6-7 นาที

4.หากกลืนกินสารโทลูอีนเข้าไปควรรีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างทันที เพราะการกลืนกินโทลูอีนเพียง 60 มิลลิลิตร อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 นาที เพราะสารโทลูอีนที่กินเข้าไปจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อปอดส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด

5.ถึงแม้หน่วยงาน International Agency for Research on Cancer (IARC), US National Toxicology Program (NTP) รายงานว่า สารโทลูอีนไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่การได้รับสารโทลูอีนของผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ว่าจะได้รับจากทางไหน ล้วนส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกที่เกิดขึ้นมามีอวัยวะผิดปกติหรือการเกิดลูกวิธูป (Teratogenicity) และสมองมีพัฒนาการเจริญเติบโตที่ช้าอีกด้วย 

 

การควบคุมและการป้องกันส่วนบุคคล

  • การควบคุมสถานที่ปฏิบัติงาน ควรมีที่ระบายอากาศได้ดี
  • การป้องกันทางการหายใจ ควรสวมหน้ากากกรองไอสารเคมีอินทรีย์ชนิด NPF 400 (Gas Only) หากอยู่ในทีทีการระบายอากาศไม่ดีในทีอับหรือห้องทึบให้สวม เครืองช่วยหายใจชนิดมีถังอากาศในตัวมาตรฐาน NPF 2000
  • การป้องกันทางมือ หากต้องมีการสัมผัสกับสารเคมีควรสวมใส่ถุงมือชนิดทีทนต่อ สารเคมีชนิดนันได้ดี เช่น ถุงมือไนไตร หรือนีโอพรีน
  •  การป้องกันตา ควรสวมใส่แว่นครอบตาหรือหน้ากากป้องกันสารเคมี
  • การป้องกันอื่น ๆ ควรสวมใส่ชุดป้องกันซึงทนต่อสารเคมี และรองเท้านิรภัย ทำความสะอาดร่างกายทุกครังหลังการปฏิบัติงาน

 

การบำบัดรักษา 

เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเนื่องจากโทลูอีน จะต้องดำเนินการปฐมพยาบาลก่อนตามลักษณะที่ได้รับสาร คือ
1. เมื่อกระเด็นถูกตา ต้องล้างตาทันทีด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ และคอยปิดเปิดตาเป็นครั้งคราว ถ้าล้างแล้วยังเกิดการระคายเคือง ควรนำส่งแพทย์ทันทีและไม่ควรใส่ Contact lenses เมื่อต้องทำงานกับสารจำพวกนี้
2. เมื่อกระเด็นถูกผิวหนัง ต้องทำความสะอาดผิวหนังด้วยสบู่และน้ำ แต่ถ้าเสื้อผ้าที่สวมใส่ ชุ่มโชกไปด้วยสารดังกล่าว ต้องถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่ออกทันทีและทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่และน้ำ ถ้าทำความสะอาดแล้วยังมีการระคายเคืองที่ผิวหนังควรนำส่งแพทย์ทันที
3. เมื่อหายใจเอาโทลูอีนที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไป ควรเคลื่อนย้ายผู้สัมผัสให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์ทันที ถ้าหายใจไม่ออกต้องให้ออกซิเจนหริอนำส่งแพทย์ทันที
4. ถ้ากลืนเข้าไป ต้องนำส่งแพทย์ทันที อย่าพยายามทำให้คนไข้อาเจียนออกมา

 

การใช้ประโยชน์โทลูอีน
กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่

·         ใช้เป็นตัวทำละลาย (solvent) หรือทินเนอร์ (thinner) ในอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเกี่ยวกับสี อาทิ สีพ่นรถยนต์ สีทาบ้าน สีสเปรย์ งานพิมพ์สี เป็นต้น รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่ใช้ควบคู่กัน อาทิ น้ำมันชักเงา กาว เรซิน ยาง และพลาสติก เป็นต้น

·         ใช้เป็นสารตั้งต้น และเป็น intermediate ในการผลิตสารเคมีหลายชนิด เช่น ซัคคาริน เบนซีน ฟีนอล กรดเบนโซอิค เบนซาลดีไฮด์ เบนซิลอัลกอฮอล์ และสารอนุพันธ์ของคลอไรด์ รวมถึงใช้ในกระบวนการการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์น้ำหอม และเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยากำจัดวัชพืช และยาฆ่าแมลง

·         ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใย อุตสาหกรรมฟอกย้อม อุตสาหกรรมผลิตหนังเทียม อุตสาหกรรมกระดาษสำหรับการเคลือบกระดาษ และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยางมะตอย

 

 

ความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของโทลูอีนที่มีต่อมนุษย์

  • 2.5 ppm รู้สึกได้กลิ่น
  • 3.7 ppm คนทั่วไปรู้สึกได้
  • 50 – 100 ppm จะไม่สังเกตเห็นอาการความแตกต่างหลังการสัมผัส แต่ในบางรายที่แพ้ต่อสารง่ายอาจแสดงอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าง่าย
  • 200 ppm ได้รับ 8 ชั่วโมง จะแสดงอาการบ้างเล็กน้อยได้แก่ อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ความคิดสับสนเกิดอาการชาที่ผิวหนัง อาการเหนื่อยล้าจะคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง และเกิดอาการนอนไม่หลับ และกระวนกระวาย และความคิดสับสน
  •  300 ppm ได้รับ 8 ชั่วโมง เกิดอาการคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดกับความเข้มข้น 200 ppm แต่อาการที่เกิดจะเด่นชัดขึ้น
  • 400 ppm ได้รับ 8 ชั่วโมง เกิดอาการคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดกับความเข้มข้น 300 ppm ร่วมกับมีอาการจิตใจฟุ้งซ่านสับสน
  • 600 ppm ได้รับ 3 ชั่วโมง เกิดอาการมึนงง เหนื่อยและเมื่อยล้ามาก จิตใจฟุ้งซ่านและสับสนคลื่นเหียน ปวดศีรษะและเวียนศีรษะบางรายถึงกับหมดสติ
  • 800 ppm เกิดอาการคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดกับความเข้มข้น 600 ppm แต่ใช้เวลาสัมผัสน้อยกว่า
  • มากกว่า 800 ppm เกิดอาการคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดกับความเข้มข้น 800 ppm ร่วมกับอาการอื่น เช่น โลหิตจาง และตับโต

 

ความเป็นพิษเรื้อรัง 

สำหรับกรณีเรื้อรัง จะมีอาการของระบบสมองและประสาทส่วนกลางเรื้อรัง ได้แก่ ความจำเสื่อม สูญเสียสมาธิ เสื่อมความสามารถทางปัญญา สูญเสียความคิดริเริ่ม ขาดความสนใจในสิ่งรื่นเริง ต้องการนอนมากขึ้น อ่อนเพลีย มีอารมณ์เศร้ากังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และกระวนกระวาย ทั้งนี้ ความเป็นพิษแบบเรื้อรัง จะไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดความมึนงงแบบรุนแรง หรือ การเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือด แต่จะก่อให้เกิดความไม่สัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว (Impairment of co-ordination) และระบบประสาทสัมผัสไม่ดี (Reaction time) ซึ่งมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น ผิวหนังไม่มีไขมัน และผิวหนังอักเสบ

จากที่กล่าวมาข้างต้นเราจึงต้องมีเครื่องวัดโทลูอีนเพื่อป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และป้องกันอันตรายจากอัคคีภัย หรือไฟไหม้นั้นเอง

 

ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้

เหตุไฟไหม้โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ได้มีคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสารเคมีอันตรายหลายชนิดที่ปกติใช้ในงานโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก ที่นอกจากมีผลข้างเคียงคล้ายกัน เช่น ระคายเคืองทางเดินหายใจ แสบผิวหนัง ปวดศีรษะแล้ว บางชนิดหากได้รับปริมาณสูง ต่อเนื่องและนาน จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

ในเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้ระบุถึงสารเคมีที่ใช้ในงานโรงงานผลิตพลาสติกโดยทั่วไปที่สำคัญ ซึ่งมีลักษณะกลิ่นและผลต่อสุขภาพ ดังนี้ เตตระคลอโรเอทธิลีน (Tetrachloroethylene)  เบนซีน (Benzene) บิวทาไดอีน (Butadiene)

นอกจากนี้ยังมีสารเคมีที่ชื่อว่า โทลูอีน (Toluene) กลิ่นเหมือนน้ำมันทินเนอร์ ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณความเข้มข้นสูง จะมีผลต่อประสาทส่วนกลาง อ่อนเพลีย มึนงง ไม่สามารถทรงตัวได้ ปวดศีรษะ หมดสติ และอาจถึงตายได้ หากได้รับสารนี้เป็นเวลานาน นอกจากจะเกิดความระคายเคืองตามเยื่อบุต่าง ๆ แล้ว จะมีอาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน สูญเสียความสามารถในการจำ การคิด และการควบคุมอารมณ์.

 

https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6522

http://pcd.go.th/info_serv/Datasmell/l3toluene.htm

http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/chemical-hazards/

https://www.gcascc.com/wp-content/uploads/2018/09/Toluene_TH.pdf




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )