Gas Articles


ออกซิเจนOxygen ออกซิเจนarticle

ก๊าซออกซิเจน Oxygen 
จากที่เราได้ทราบกันดีว่าออกซิเจน Oxygen เป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ และมีส่วนประกอบในอากาศ Air มากเป็นอันดับสองรองจากไนโตรเจน Nitrogen ซึ่งออกซิเจน Oxygen จะมีระดับความเข้มข้มในอากาศที่ 20.9% และไนโตรเจน nitrogen ที่ 78% คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของออกซิเจน Oxygen ในสถานะปกติออกซิเจน Oxygen เป็นก๊าซ Gas ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส หนักกว่าอากาศเล็กน้อยและละลายน้ำได้เล็กน้อย ความหนาแน่นของออกซิเจน คือ 1.43 g/litter ความหนาแน่นของอากาศ  Air คือ 1.29 g/litter เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง ออกซิเจน Oxygen จะกลายเป็นของเหลว สีฟ้าอ่อน ที่ -182.5 องศาเซลเซียส และถ้าลดอุณหภูมิลงอีก จะกลายเป็นของแข็ง สีฟ้าอ่อน มีจุดเยือกแข็งที่ -218.4 องศาเซลเซียส

Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์article

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส สูตรทางเคมีคือ CO ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (
Carbon Monoxideพบได้หลายแห่ง ไม่ว่าเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ หรือเกิดจากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม ในบรรยากาศที่เราหายใจอยู่นั้นอาจมี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxideอยู่บ้าง แต่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น บริเวณบรรยากาศปกติอาจจะมีประมาณ 0.1 ppm(parts per million) จนกระทั้งถึง 5 ppm หรือแม้กระทั่งอาจจะถึง 15 ppm ในกรณีที่เราอยู่ใกล้สิ่งที่มีการเผาไหม้ เช่น เรากำลังทำการหุงต้มอาหารในบ้าน แต่ถ้าเราอยู่ในการจราจรหนา

การแปลงหน่วย ppmการแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt

การแปลงหน่วย ระดับ % volume ถึง ระดับ ppm, ppb, ppt และระดับหน่วย SI 

การแปลงหน่วยมีความสำคัญมากทางด้านการวัด ซึ่งต้องการที่จะรู้ส่วนผสมของเนื้อสารนั้นๆ ในที่นี้จะขอเน้นไปทางก๊าซ หรือ แก๊ส เป็นหลัก

ถ้าท่านมีข้อสงสัย อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อทีมงานของเราได้อีกทางหนึ่งนะครับ

H2Sarticle

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ Hydrogen Sulfide Gas (H2S) คือก๊าซที่ไม่มีสี น้ำหนักโมเลกุล 34.04 มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงเรียกว่าก๊าซไข่เน่า มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ความหนาแน่นของไอก๊าซประมาณ 1.192 (อากาศมีความหนาแน่นเท่ากับ 1) ค่า LEL ประมาณ 4% มีความสามารถในการจุดลุกติดไฟได้เองหรือเผาไหม้ได้อย่างรุนแรง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ควรใช้ผงเคมีแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ สเปรย์น้ำ ในการดับเพลิง ผลจากการเผาไหม้ จะเกิดออกไซด์ของซัลเฟอร์ ก๊าซ H2S เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือไอน้ำจะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดซัลฟูริค(H2SO4) หรือเราเรียกว่าไอกรดหรือฝนกรดนั้นเอง มีความสามารถในการกัดกร่อนโลหะและวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้

LELLower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิดarticle

 จากบทความที่ผ่านมาทางบริษัทได้กล่าวถึงก๊าซหลายๆ ชนิด รวมถึงก๊าซออกซิเจนซึ่งมีความสำคัญในการหายใจของมนุษย์ แต่มีอีกหน้าที่หนึ่งของออกซิเจนที่ยังต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย คือ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการทำให้ติดไฟ  หรือเราอาจจะเรียกอีกอย่างว่า องค์ประกอบ 3 อย่างที่ทำให้เกิดการจุดติดไฟ  ซึ่งจะมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1. มีสารไวไฟในปริมาณเพียงพอที่จะจุดติดไฟได้ (Flammable Material in Ignitable Quantities)

2. มีออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอให้เกิดการเผาไหม้

3. มีแหล่งจุดติดไฟ (Ignition Source) ทําให้เกิดพลังงานความร้อนที่มากพอกับส่วนผสมของเชื้อเพลิงและอากาศ ซึ่งการจุดติดไฟนี้สามารถเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น เปลวไฟ,การสปาร์คของอุปกรณ์ไฟฟ้าความร้อนสูงสะสมและการถ่ายเทประจุจากไฟฟ้าสถิตย์ เป็นต้น

ก่อนหน้า123456789...1213ถัดไป
[Go to top]