Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article

Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ

         การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ หรือ การปรับสภาวะด้านในของบรรจุภัณฑ์ เป็นการเพิ่มและลดสัดส่วนของก๊าซที่เราต้องการที่จะควบคุมด้านในผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการ โดยอาศัยก๊าซต่างๆ เช่น ออกซิเจน Oxygen คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide และไนโตรเจน Nitrogenในความเข้มข้นที่แตกต่างไปจากบรรยากาศปกติในการบรรจุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการเสื่อมเสียและรักษาความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการขนส่ง เก็บรักษาและจัดจำหน่าย ส่วนผสมของก๊าซที่ใช้ในการบรรจุแบบปรับบรรยากาศจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ภาชนะบรรจุและสภาวะการเก็บรักษา ควรเลือกก๊าซที่ปลอดภัย หาง่าย และราคาถูก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของอาหาร

ออกซิเจน (Oxygen) ควรใช้ในปริมาณต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกเว้นในการบรรจุผลิตผลไม้สด ปริมาณออกซิเจนที่ลดลง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และ ออกซิเจนยังมีความจำเป็นต่อการหายใจและการสุกของผักและผลไม้สด ตลอดจนมีส่วนช่วยในการรักษาสีแดงของเนื้อสัตว์อีกประการหนึ่งด้วย

คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะเชื้อราและแบคทีเรียที่ใช้อากาศ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide ยังขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของอาหารด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide จะถูกดูดซับหรือละลายลงในอาหารที่มีความชื้นสูงๆ แม้คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide จะช่วยการชะลอการสุกของผักผลไม้ แต่ถ้าใช้คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxideในความเข้มข้นสูงอาจทำให้ผักผลไม้เกิดความเสียหายได้

ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นก๊าซเฉื่อยที่มีอยู่มากในบรรยากาศทั่วไป ประมาณ 78% ใช้บรรจุเพื่อแทนที่ออกซิเจนในภาชนะบรรจุเพื่อชะลอการเสื่อมเสียและลดการยุบตัวของบรรจุภัณฑ์

นอกจากนี้มีการใช้ก๊าซอื่นๆได้แก่ คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์และรามีการใช้เพื่อรักษาสีแดงของเนื้อสัตว์ แต่ต้องระมัดระวังในการใช้งาน เนื่องจาก คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) มีความเป็นพิษ

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ก็มีการใช้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อรา เช่นกัน แต่ไม่นิยมมากนัก

อาร์กอน (Argon) เป็นสารเติมแต่งอาหาร Argon มีอยู่มากในอากาศ นอกจากจะใช้เพื่อแทนที่ Oxygen ในภาชนะบรรจุเช่นเดียวกับ Nitrogen ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยด้วยกันแล้ว Argon ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ตลอดจนยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยเร่งการเสื่อมเสียของอาหาร

เอธานอล (Ethanol) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหารในหลายประเทศ ดังนั้นจริงยังไม่เป็นที่นิยม

 

    

 

อ้างอิงข้อมูลจาก Thailand Institute of Scientific and Technological Research, Dr.Pattra Maneesin

 

 

 

เครื่องวัดก๊าซอ้างอิง

 

 

Headspace Gas Analyzers

 บทความต่อเนื่อง การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาคสอง

ชอบบทความกด Like ด้านบนให้กำลังใจทีมงานด้วยนะคะ




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )