Oxygen ออกซิเจน article

จากที่เราได้ทราบกันดีว่าออกซิเจน Oxygen เป็นส่วนสำคัญในการดำรงษ์ชีวิตของมนุษย์และสัตว์ และมีส่วนประกอบในอากาศ Air มากเป็นอันดับสองรองจากไนโตรเจน Nitrogen ซึ่งออกซิเจน Oxygen จะมีระดับความเข้มข้มในอากาศที่ 20.9% และไนโตรเจน nitrogen ที่ 78% คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของออกซิเจน Oxygen ในสถานะปกติออกซิเจน Oxygen เป็นก๊าซ Gas ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส หนักกว่าอากาศเล็กน้อยและละลายน้ำได้เล็กน้อย ความหนาแน่นของออกซิเจน คือ 1.43 g/litter ความหนาแน่นของอากาศ  Air คือ 1.29 g/litter เมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำลง ออกซิเจน Oxygen จะกลายเป็นของเหลว สีฟ้าอ่อน ที่ -182.5 องศาเซลเซียล และถ้าลดอุณหภูมิลงอีก จะกลายเป็นของแข็ง สีฟ้าอ่อน มีจุดเยือกแข็งที่ -218.4 องศาเซลเซียส

คุณสมบัติทางเคมีของออกซิเจน  Oxygen เป็นธาตุที่สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ ปานกลางในอุณหภูมิปกติ และจะมีปฏิกิริยามาขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ออกซิเจน Oxygen สามารถทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ เกือบทั้งหมด ให้สารประกอบเรียกว่า Oxides ปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจน Oxygen กับสารอื่นเราเรียกว่าออกซิเดชั่น (oxidation)

ออกซิเดชั่น (Oxidation) หมายถึงกระบวนการที่มีการเติมออกซิเจน oxygen หรือหมายถึงการลดทอน electron หรือการเพิ่ม oxidation number การเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น เกิดได้ดังเช่น

   การสันดาป Combustion หมายถึงขบวนการที่สารจำพวกเชื้อเพลิงทำปฎิกิริยากับออกซิเจน oxygen จนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและพลังงาน เกิดขึ้น เช่น การเผาไหม้

  การระเบิด Explosion คือขบวนการสันดาปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

   การหายใจ คือขบวนการนำออกซิเจน oxygen เข้าไปในร่างกายเพื่อไปทำให้เกิดปฏิกิริยากับสารอาหาร เช่น  คาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน ทำให้เกิดคาร์บอกไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน

   การฟอกจาง คือขบวนการที่เติมออกซิเจน oxygen ให้กับสารบางตัวในโรงงานอุตสาหกรรมจำพวกสิ่งทอ Textile 

   การเกิดสนิม คือออกซิเจน oxygen ทำปฎิกริยากับเหล็กอย่างช้าๆ โดยมีไอน้ำ water เป็นตัวร่วม ทำปฎิกิริยาทำให้เกิดเหล็กออกไซด์เป็น ferrous oxide จนกระทั่งเป็นสนิม

ผลกระทบจากออกซิเจน Effect from Oxygen

ตามที่ได้แจ้ง อากาศที่เราหายใจประกอบด้วยออกซิเจน Oxygen  20.9% ถ้าปราศจากก๊าซออกซิเจน Oxygen เราจะตายภายในไม่กี่นาที แต่นอกเหนือจากการดำรงษ์ชีวิตของมนุษย์โดยออกซิเจน Oxygen แล้ว การเกิดปฏิกิริยารุนแรงโดยเกิดโดยตรงจากออกซิเจน Oxygen ก็มักพบได้จากที่ออกซิเจน Oxygen ทำปฎิกิริยาเองอย่างรุนแรง เช่นในกรณีที่สถานที่นั้นๆ มีค่าออกซิเจน Oxygen สูงกว่าค่าปกติเช่นอาจสูงเกินกว่า 24%  ออกซิเจน Oxygen อาจจะลุกติดไฟได้ง่าย เกิดความร้อนสูงกว่าและรุนแรง กว่าในอากาศปกติและยากในการดับไฟ การรั่วของก๊าซออกซิเจนจากวาล์วหรือท่อนำก๊าซในห้องที่มีการระบายอากาศไม่ดีหรือในที่อับอากาศ จะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจน Oxygen เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจนถึงระดับที่เป็นอันตราย

สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้และเกิดการระเบิดในขณะปฎิบัติงานมีดังนี้

  ปริมาณก๊าซออกซิเจน Oxygen ในอากาศเพิ่มขึ้นจากการรั่วของอุปกรณ์

   ใช้วัสดุที่เข้ากันไม่ได้กับออกซิเจน Oxygen

การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้และป้องกันการระเบิดจากการใช้ออกซิเจน Oxygen

 ต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับใช้กับออกซิเจน Oxygen

  ต้องใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับออกซิเจนให้ถูกต้องหรือระมัดระวัง และควรได้รับการอบรม

  ใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจจับออกซิเจน Oxygen เช่น เครื่องวัดออกซิเจนแบบพกพา Portable Oxygen Detectors และเครื่องวัดออกซิเจนแบบอยู่ประจำที่

            Oxygen Analyzers

  ต้องมีการระบายอากาศที่ดี

  อย่าใช้ออกซิเจน Oxygen ในการเป่าหรือขจัดฝุ่นออกจากเสื้อผ้าหรือเครื่องจักร

  อย่าใช้ปริมาณออกซิเจน Oxygen มากเกินไปในงานตัดเชื่อม

  คอยตรวจสอบจุดรั่วไหลต่างๆ ในบริเวณหน้างาน เช่นท่อ หรือข้อต่อต่างๆ ที่นำพาออกซิเจน Oxygen

  ไม่ควรนำท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน Oxygen ลงไปในที่อับอากาศ ควรใช้ท่อนำก๊าซต่อเข้าไปแทน

  ไม่ควรใช้ออกซิเจน Oxygen ในการติดเครื่องยนต์ดีเซล

  ไม่ควรใช้ออกซิเจน Oxygen เติมลมยาง

  ไม่ควรใช้ออกซิเจน Oxygen ในอุปกรณ์ที่ใช้ลมในการขับเคลื่อน

  ต้องเก็บท่อออกซิเจน Oxygen ให้ห่างจากก๊าซไวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต หรือแยกพื้นที่เก็บโดยกั้นด้วยกำแพงทนไฟสูงอย่างน้อย 5 ฟุต
และทนไฟได้อย่างน้อย
 30 นาที

  ห้ามเก็บไขและน้ำมันใกล้กับออกซิเจน Oxygen และห้ามทาไขหรือน้ำมันบนข้อต่อท่อบรรจุก๊าซ

  ควรใช้รถเข็นที่ออกแบบมาสำหรับเคลื่อนย้ายถังออกซิเจน Oxygen โดยเฉพาะ

  ควรมีโซ่หรืออุปกรณ์จับยึดท่อออกซิเจน Oxygen กันล้ม

 ควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงอยู่ใกล้ถังบรรจุออกซิเจน Oxygen

  ควรทำทางออกฉุกเฉินสำหรับพื้นที่ที่ต้องการ การป้องกันอย่างสูง

 

 

 

สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

http://www.orangeth.com/oxygen

 

http://www.orangeth.com/Gasdetectors

 

 

 

ชอบบทความนี้กด Like ด้านบน เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยนะคะ

 




Gas Articles

Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )