Gas Articles


ก๊าซไข่เน่าก๊าซไข่เน่า

ก๊าซไข่เน่า เราคงรู้จักก๊าซไข่เน่ากันพอสมควรแล้วจาก สูตรเคมี เอย ว่ามันคือ H2S และบอกว่ามันอันตรายอย่างงั้นอย่างงี้ แต่ทำไมยังมีข่าวผู้คนเสียชีวิตจากมันเรื่อยๆ ฟังแล้วก็หดหู่ใจ บทความนี้ อยากจะเล่าวิธีการ ที่มันหลอกล่อ พวกเราเข้าไปหามันแล้วกันนะครับ 

อันดับแรกเลย เรามักจะได้กลิ่นมันบ้าง คล้ายกลิ่นไข่เน่า หรือ ตด แล้วกัน (บทความนี้ไม่วิชาการนะครับ วิชาการอ่านอีกบทหนึ่งได้เลยนะครับ เรื่อง พิษภัย H2S) มาแบบจางๆ ทำไมเป็นอย่างงี้เหรอ ขอบอกเลย ของแรงมันอยู่ต่ำๆ ครับ ทำให้คาดไม่ถึงไงละครับ เจออย่างงี้เราก็ไม่กลัว สิครับ (ไม่เห็นมีกลิ่นแรงเลย น่าจะโอเค ทำงานดีกว่า) เข้าทางเจ้าไข่เน่าแล้วสิ (แย่จัง เจ้าของบทความรู้สึกเสียใจนะ) 

เครื่องวัดก๊าซแก๊สเครื่องวัดก๊าซ แก๊ส

เครื่องวัดก๊าซ (Gas Detector) เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้สำหรับการตรวจจับก๊าซในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดอัคคีภัย และป้องกันสุขภาพและร่างกายของมนุษย์เป็นสำคัญ เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับตรวจสอบและเฝ้าระวังก๊าซที่อาจรั่ว (Gas Leaks)ออกมาจากระบบโดยมิได้ตั้งใจ ซึ่งเราควรที่จะควบคุมขบวนการทำงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามทิศทางที่ฝ่ายควบคุมความปลอดภัยได้อบรมหรือ ฝ่าย จป ได้ควบคุมดูแล  เครื่องวัดก๊าซ(Gas Detector) ที่ดีนั้น ควรจะสามารถส่งเสียงแจ้งเตือนที่อย่างน้อย 90 Decibel หน่วยเดซิเบล และแจ้งเตือนด้วยแสงและการสั่น (เครื่องวัดก๊าซแบบติดตัวบุคคล) เพื่อบอกปัญหาที่ได้พบเจอให้กับเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานอยู่ภายใต้พื้นที่นั้นๆ เมื่อพบปัญหาการรั่วของก๊าซ (Gas Leaks)

การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)

 การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR) ผลิตภัณฑ์หลายๆชนิดในท้องตลาดบ้านเรา ส่วนมากจะมีการปรับส่วนผสมของก๊าซต่างๆ ด้านใน เป็นที่เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น ขนมถุง ยา หรือแม้กระทั้งเครื่องดื่มทั้งหลาย ที่อยู่ในท้องตลาด บทความนี้ ขอพูด ถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการดูแลและป้องกันทางด้าน CO2 หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนมากในท้องตลาดจะมีด้วยกันสองส่วนใหญ่ๆ เป็นสำคัญ คือ น้ำอัดลม และบรรจุภัณฑ์ทางด้านเนื้อสัตว์ ซึ่ง CO2 จะทำหน้าที่ให้สีสดใสให้กับเนื้อสัตว์อีกด้วย แม้กระทั่งสารเคมี สารประกอบทางเคมี อีกด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบ ต่อผลิตภัณฑ์ทางด้านอายุ

ก๊าซมีเทนก๊าซมีเทน

ก๊าซมีเทน
เป็นก๊าซไม่มีสีไม่มีกลิ่นและมีความไวไฟสูง และค่อนข้างเบากว่าอากาศดังนั้นจึงทำให้มันมักจะลอยสะสมอยู่ด้านบน หรือสะสมบริเวณด้านบน ซึ่งอาจทำเกิดอัคคีภัยได้อย่างง่ายดาย และเป็นส่วนประกอบหลักในก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนและให้พลังงานความร้อนกับคนทั่วโลก ตลอดจนก๊าซมีเทนคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่มนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ก๊าซมีเทนมีพันธะทางโมเลกุล มี 4 ขาของไฮโดรเจน จับกับพันธะ คาร์บอน 1 อะตอม เราจึงได้ CH4 เป็นสูตรเคมีง่ายๆ ที่อาจจะไม่ง่ายเหมือนชื่อ เพราะความอันตราย และการใช้งานที่ต้องการ ความระมัดระวังอย่างสูง ตามราชกิจจานุเบกษา หน้า 12 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ได้กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ ในหัวข้อ 2 มีก๊าซ ไอ หรือละองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower 

ฟอสฟีนฟอสฟีน คืออะไร

PH3 คือ ก๊าซ (PH3 or H3P) หรือ ฟอสฟีน เป็นก๊าซไม่มีสี โดยมีกลิ่นคล้ายปลาเน่าหรือกระเทียม จุดเดือด -126 ° F; จุดเยือกแข็ง -209 ° F เป็นพิษมากเมื่อสูดดมที่ความเข้มข้นต่ำมาก(หรืออาจสูดดมในปริมาณต่ำมากก็เป็นพิษมากเหมือนกัน)  เป็น สารรมควันที่ใช้กำจำมอดและแมลงในข้าว

ฟอสฟีนเป็นก๊าซ ไม่มีสี ไวไฟและระเบิดได้ที่อุณหภูมิแวดล้อม ซึ่งมีกลิ่นคล้ายกระเทียมหรือปลาเน่า ปริมาณเล็กน้อยเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการแตกตัวของสารอินทรีย์ ละลายได้ในน้ำเล็กน้อย ฟอสฟีนถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และพลาสติกในการผลิตสารหน่วงไฟและใช้เป็นยาฆ่าแมลงในการเก็บรักษาเมล็ดพืช

[Go to top]