
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ ![]() Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ หรือ การปรับสภาวะด้านในของบรรจุภัณฑ์ เป็นการเพิ่มและลดสัดส่วนของก๊าซที่เราต้องการที่จะควบคุมด้านในผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการ โดยอาศัยก๊าซต่างๆ เช่น ออกซิเจน Oxygen คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide และไนโตรเจน Nitrogenในความเข้มข้นที่แตกต่างไปจากบรรยากาศปกติในการบรรจุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอการเสื่อมเสียและรักษาความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการขนส่ง เก็บรักษาและจัดจำหน่าย ส่วนผสมของก๊าซที่ใช้ในการบรรจุแบบปรับบรรยากาศจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ภาชนะบรรจุและสภาวะการเก็บรักษา ควรเลือกก๊าซที่ปลอดภัย หาง่าย และราคาถูก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไนโตรเจน ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของอาหาร ออกซิเจน (Oxygen) ควรใช้ในปริมาณต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกเว้นในการบรรจุผลิตผลไม้สด ปริมาณออกซิเจนที่ลดลง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และ ออกซิเจนยังมีความจำเป็นต่อการหายใจและการสุกของผักและผลไม้สด ตลอดจนมีส่วนช่วยในการรักษาสีแดงของเนื้อสัตว์อีกประการหนึ่งด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะเชื้อราและแบคทีเรียที่ใช้อากาศ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide ยังขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของอาหารด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide จะถูกดูดซับหรือละลายลงในอาหารที่มีความชื้นสูงๆ แม้คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide จะช่วยการชะลอการสุกของผักผลไม้ แต่ถ้าใช้คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxideในความเข้มข้นสูงอาจทำให้ผักผลไม้เกิดความเสียหายได้ ไนโตรเจน (Nitrogen) เป็นก๊าซเฉื่อยที่มีอยู่มากในบรรยากาศทั่วไป ประมาณ 78% ใช้บรรจุเพื่อแทนที่ออกซิเจนในภาชนะบรรจุเพื่อชะลอการเสื่อมเสียและลดการยุบตัวของบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้มีการใช้ก๊าซอื่นๆได้แก่ คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์และรามีการใช้เพื่อรักษาสีแดงของเนื้อสัตว์ แต่ต้องระมัดระวังในการใช้งาน เนื่องจาก คาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) มีความเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ก็มีการใช้ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และเชื้อรา เช่นกัน แต่ไม่นิยมมากนัก อาร์กอน (Argon) เป็นสารเติมแต่งอาหาร Argon มีอยู่มากในอากาศ นอกจากจะใช้เพื่อแทนที่ Oxygen ในภาชนะบรรจุเช่นเดียวกับ Nitrogen ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อยด้วยกันแล้ว Argon ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ตลอดจนยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยเร่งการเสื่อมเสียของอาหาร เอธานอล (Ethanol) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับอาหารในหลายประเทศ ดังนั้นจริงยังไม่เป็นที่นิยม
อ้างอิงข้อมูลจาก Thailand Institute of Scientific and Technological Research, Dr.Pattra Maneesin
เครื่องวัดก๊าซอ้างอิง
บทความต่อเนื่อง การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาคสอง ชอบบทความกด Like ด้านบนให้กำลังใจทีมงานด้วยนะคะ |