O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน

 O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน

โอโซน" (Ozone) คือสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยออกซิเจน 3 อะตอมใน 1 โมเลกุล โดยทั่วไปโอโซนอยู่ในสถานะก๊าซมีอยู่มากในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ สูงเหนือพื้นดินโลก 20 กม. หรือประมาณ 10-50 กิโลเมตรจากพื้นดิน เกิดมาจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์ หรือสายฟ้า โดยจะพบโอโซนประมาณ 3 โมเลกุลในทุก ๆ 10 โมเลกุลของชั้นบรรยากาศ

มีบทบาทสำคัญในการกรองเอารังสียูวีออกจากรังสีแสงอาทิตย์ไม่ให้ลงมาที่พื้นผิวโลกมากเกินไป วัตถุประสงค์เดียวของ "โอโซน" คือปกป้องอันตรายที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์และสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ตามความเข็มข้นของปริมาณ

ดังนั้น โอโซนมีอยู่ 2 ความหมาย

โอโซนที่ดี เป็นโอโซนตามธรรมชาติที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสูงๆ สูงจากพื้นดินมากกว่า 40 กิโลเมตรขึ้นไป ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต

โอโซนที่ไม่ดี เป็นก๊าซที่มีพิษในอากาศชั้นล่าง สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2 กิโลเมตร มีหลายสิ่งที่ก่อให้เกิดโอโซนที่ไม่ดีในอากาศ เช่น เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยมีแสงสว่างเป็นตัวเร่ง ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องกำเนิดความร้อน จากกระบวนการผลิตในแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น

จากการตรวจวัดปริมาณก๊าซโอโซนของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพบว่า โอโซนจะมีในฤดูร้อนมากกว่าฤดูอื่น มีค่าสูงสุดช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ส่วนในฤดูฝนความเข้มข้นของโอโซนในบรรยากาศจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากแสงแดดซึ่งให้พลังงานต่อการเกิดก๊าซโอโซนมีน้อย ปริมาณโอโซนจะมีสูงสุดในช่วงเที่ยงวัน และจะลดลงเมื่อแสงแดดน้อยลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางลมเป็นที่สังเกตว่าถ้าอากาศนิ่งไม่มีลมพัดและแดดจัดปริมาณโอโซนจะสูงขึ้นอย่างผิดปกติ 

        แต่อย่างไรก็ตามปริมาณโอโซนที่พบก็ยังไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศไทย แต่ก็มีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นพิษก่อให้เกิดปัญหาได้ในอนาคต เนื่องจากปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดก๊าซโอโซนขึ้นได้ แต่ก็ยังเป็นความโชคดีของกรุงเทพมหานครที่มีที่ตั้งซึ่งลมพัดถ่ายเทอากาศได้ดีตลอดปี โดยเฉพาะช่วงกลางวันทำให้โอกาสที่โอโซนจะเกิดการสะสมตัวมีน้อย

โอโซน VS อากาศบริสุทธิ์

หลายคนเข้าใจผิดว่าโอโซนหมายถึงอากาศที่บริสุทธิ์ ที่ไหนมีโอโซนมาก หมายถึงว่ามีอากาศที่ดี และสะอาดมากๆ หายใจเอาโอโซนเข้าไปแล้วจะรู้สึกสดชื่น อันที่จริงแล้วโอโซนไม่ใช่อากาศที่เราควรจะหายใจเอาเข้าไปในปอดเลย เพราะโอโซนเปนก๊าซ ไม่มีสีแต่มีกลิ่นเหม็นคาว ซึ่งเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต และยังมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

โอโซน = สารพิษในอากาศ

โอโซนถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในสารพิษในอากาศ เพราะเป็นก๊าซที่อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต ซึ่งนอกจากโอโซนยังมีก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ ฝุ่นละอองต่างๆ

โอโซนกับการใช้ประโยชน์เพื่อชีวิตประจำวัน

ถึงแม้ว่าโอโซนจะเป็นก๊าซที่เกิดได้เองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์ก็สามารถผลิตโอโซนขึ้นมาได้เองโดยใช้อากาศและไฟฟ้า ยิ่งถ้าใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงก็จะยิ่งได้โอโซนที่มีความเข้มข้นมาก ทำให้โอโซนสามารถนำมาใช้ทำประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น

1.สามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้

2.ช่วยกำจัดก๊าซพิษ มลพิษต่าง ๆ ในอากาศ ทำให้อากาศบริสุทธิ์

3.ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างดีเยี่ยมและรวดเร็ว เหมาะสำหรับใช้อบฆ่าเชื้อโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ โดยที่ไม่มีสารอันตรายตกค้าง

ข้อควรระวังในการนำโอโซนมาใช้

การนำโอโซนมาใช้ไม่ว่าจะเพื่ออะไร ก็มีข้อควรระวังเล็กน้อย ดังนี้

1.ไม่ควรใช้โอโซนมากเกินไป เพราะจะกลายเป็นก๊าซพิษได้

2.โอโซนในรูปแบบของเหลวที่มีความเข้มข้นสูง ถ้าเข้าตาหรือโดนผิวหนัง จะก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

3.บางคนอาจแพ้โอโซนแล้วมีอาการข้างเคียงได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้

**ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการบำบัดด้วยโอโซน ควรบำบัดตอนที่ ไม่มีผู้ใช้งานในสถานที่และควรอยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น**

 

การผลิตโอโซน

การผลิตโอโซนในบรรยากาศ

โอโซนถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ในทางการค้าจากแสง UV ที่ความถี่ 185 nm หรือ Corona discharge โดยทั่วไปจะพบ Corona discharge ที่ความเข้มข้นของอากาศ 1-3% น้ำหนักโดยน้ำหนัก (w/w) และที่ความเข้มข้นของออกซิเจน 2-12% w/w สมบัติของโอโซน

โอโซนเป็นตัวออกซิไดซ์ที่มีความแรงมาก โอโซนสามารถแตกตัวเป็นออกซิเจนอย่างง่าย สลายตัวได้เอง และไม่มีสารพิษตกค้าง มีครึ่งชีวิตในน้ำที่อุณหภูมิห้อง 20 นาที สามารถละลายในน้ำได้ดีกว่าแก๊ส โดยการละลายจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง ไม่มีสารตกค้าง และไม่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อมและระบบน้ำใต้ดิน สามารถลดอันตรายทางเคมี จากวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ตกค้างในผักและผลไม้ได้ กลไกการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ของโอโซน

                โอโซนเป็นสารออกซิไดซ์ดีมาก จึงทำลายจุลินทรีย์ได้หลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรียยีสต์รา โปรโตซัวร์ ที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเสื่อมเสีย และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ได้เช่น Escherichia coliListeriaVibrio และ Salmonella กลไกการทำลายเซลล์จุลินทรีย์ คือโอโซนแตกตัวให้ประจุของออกซิเจนที่มีความสามารถในการออกซิไดซ์สูง มีผลรบกวนต่อการถ่ายโอนประจุระหว่างชั้นผนังเซลล์ ทำลายโครงสร้างผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ และทำลายองค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ของจุลินทรีย์เสียหาย แบบเฉียบพลันและตายในที่สุด

การใช้โอโซนในอาหาร

โอโซนนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้ดังนี้

1.ใช้ล้างวัตถุดิบ โดยเป็นสารฆ่าเชื้อ ใช้ได้กับวัตถุดิบหลายชนิด เช่น ผักผลไม้สมุนไพร และ เนื้อสัตว์  

2.ใช้ทำความสะอาด เพื่อฆ่าเชื้อ สถานที่ผลิต สถานที่เก็บรักษาอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูป การขนส่ง ขนถ่าย

3.ใช้ฆ่าเชื้อบรรจุภัณฑ์ เช่น ใช้โอโซน 20 ppm แทนคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อขวดบรรจุน้ำดื่มในภาชนะที่ปิดสนิท

4.ใช้ในการรม เพื่อควบคุมแมลงที่ผิวของอาหาร กำจัดแก๊สเอทิลีน เพื่อชะลอการสุกของผลไม้ได้

5.ใช้บำบัดน้ำเสีย โดยการปรับสภาพน้ำที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้อีก

ข้อจำกัด

โอโซนเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากได้รับที่ความเข้มข้นเกิน 4 ppm เป็นเวลาต่อเนื่อง จึงต้องมีระบบตรวจจับและเตือนภัย และมีระบบการระบายอากาศที่ดีในบริเวณที่ใช้งาน โอโซนเป็นเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรง กัดกร่อนพื้นผิววัสดุได้ จึงต้องใช้กับพื้นผิวที่ทนการกัดกร่อน เช่น เหล็กปลอดสนิม

 

พิษภัยที่คาดไม่ถึง

"โอโซน" จัดเป็นก๊าซพิษ การมีปริมาณโอโซนสูงมากผิดปกติในบางพื้นที่น่าจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่จะเป็นผลดี การได้รับโอโซนเป็นประจำอาจจะเป็นอันตรายต่อปอด โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ปอดกำลังพัฒนาอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบสืบพันธุ์และพันธุกรรม อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ทำให้เกิดโรคปอดกำเริบ ทำให้ภูมิคุ้มกันในระบบหายใจลดลง อาการหอบหืดและโรคหัวใจกำเริบ ลดปริมาณลมหายใจ รวมทั้งทำให้ปริมาณของเหลวในปอดเพิ่มขึ้นทำให้หายใจขัด

ก๊าซโอโซนทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบหายใจ ทำให้ไอระคายคอหรือแน่นหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องเสีย แน่นท้อง มีอาการป่วยและอาเจียน การสัมผัสโอโซนที่อยู่ในสภาพของเหลวที่มีความเข้มข้นสูงที่ผิวหนังหรือดวงตาอาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการไหม้รุนแรง ปวดแสบปวดร้อน

           โอโซนโดยคุณสมบัติของมันโดยเฉพาะที่มีความเข้มข้นมาก สามารถทำปฏิกิริยากับร่างกายได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อหายใจเข้าไปโอโซนทำอันตรายต่อปอด แม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยโอโซนสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจไม่ออก เจ็บคอ ระคายเคืองคอ โอโซนสามารถทำให้เกิดปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอย่างเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหอบ นอกจากนั้นโอโซนยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดลงด้วย 


ผลกระทบของโอโซนต่อ ร่างกายโดยรวมมีดังนี้ 

ปอดมีประสิทธิภาพน้อยลง 

มีปัญหาหอบหืด 

ระคายเคืองคอ ไอ

เจ็บหน้าอกหายใจไม่ออก 

ปอดอักเสบ 

ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ 

 ปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยง ความรุนแรงของสุขภาพมีต่อไปนี้

• ปริมาณของโอโซนในอากาศเข้มข้นมากขึ้น 

• สัมผัสโอโซนเป็นเวลายาวนานขึ้น เพิ่มปัญหาสุขภาพมากขึ้น 

• ออกกำลังกายในที่ที่มีโอโซนปริมาณมาก 

• มีปัญหาโรคปอด เช่นโรคหอบหืดอยู่แล้ว

 

ค่ากำหนดมาตรฐาน Health Standards

              FDA หรือ อย. แห่งสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดว่าเครื่องผลิตโอโซนไม่ควรผลิตโอโซนเกิน 0.05 ppm. สำหรับใช้ภายในอาคาร

              OSHA หรือ (Occupational Safety and Health Administration) ตั้งข้อกำหนดว่าไม่ควรทำงานในบริเวณที่มีความเข้มข้นของโอโซนเกิน 0.10 ppm.  เกินกว่า  8 ชั่วโมง 

              สถาบัน  NIOSH  หรือ  (National Institute of Occupational Safety and Health) ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีโอโซนเกิน 0.10 ppm.  ไม่ว่ากรณีใด

              สำนักงาน  EPA  หรือ (Environmental Protection Agency)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีโอโซนถึง 0.08  ppm.  เกิน 8 ชั่วโมง

 สรุปง่ายๆ "โอโซน" ก็เหมือนร่มของโลกที่ช่วยกรองยูวีจากพระอาทิตย์ที่จะมาสู่พื้นโลก ไม่ใช่สิ่งที่จะมาทำให้ร่างกายเราสดชื่นนั่นเอง

 

 

 

answers.yahoo.com http://www.goodhealth.co.th/ http://www.tistr-foodprocess.net/download/article/ozone_th.htm http://www.econowatt.co.th/www/info.php

 

www.agri.kmitl.ac.th/...php/...campylobacter-jejuni-/downloadInactivation of Pathogenic Microorganisms in Food by Ozone http://www.2b-green.net/Ozone.html

 

https://il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter2/chapter2_airpolution8.htm

 

 




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )