
Toluene พิษภัย
Toluene พิษภัย โทลูอีนเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนคล้ายน้ำมันเบนซิน ไวไฟที่อุณหภูมิสูงกว่า 4.4°C ดังนั้นอุณหภูมิห้องจึงเป็นอันตรายจากไฟไหม้อย่างสำคัญที่ โทลูอีนผสมได้ง่ายกับตัวทำละลายอินทรีย์หลายชนิด แต่ละลายได้ไม่ดีในน้ำ โทลูอีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และจะลอยอยู่บนผิวน้ำ โทลูอีนควรเก็บในภาชนะบรรจุทนไฟ ติดฉลากชัดเจน และ เก็บแยกจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และสารรังสี และ เก็บในที่เย็น ไม่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง ไม่มีแหล่งติดไฟ พื้นที่จัดเก็บควรทำด้วยวัสดุทนไฟ มีอากาศถ่ายเท มีระบบควบคุมอุณหภูมิ โทลูอีนมีกลิ่นคล้ายน้ำมันทินเดอร์ การใช้งาน จะใช้ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมสีน้ำมันเคลือบเงา กาว โทลูอีนถูกควบคุมโดย กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ผลต่อสุขภาพ
ถ้าหายใจเข้าไป หากได้รับสารในปริมาณความเข้มข้นสูง จะมีผลต่อประสาทส่วนกลาง จะมีอาการอ่อนเพลีย มึนงง ไม่สามารถทรงตัวได้ ปวดศีรษะ หมดสติ และอาจถึงตายได้ เมื่อได้รับสารนี้เป็นเวลานาน ๆ นอกจากจะเกิดความระคายเคืองตามเยื่อบุต่าง ๆ แล้ว จะมีอาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน สูญเสียความสามารถในการจำ การคิด และการควบคุมอารมณ์
ความเป็นพิษของสารโทลูอีน
1.หากสูดดมไอระเหยเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดผิดปกติ และมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต และถ้าสูดดมในระยะสั้น อาจทำให้เกิดอาการเวียนหัว มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหารโดยปริมาณความเข้มข้นต่ำสุดที่เป็นอันตรายต่อระบบหายใจคือที่ระดับความเข้มข้น 10-15 ppm และระดับความเข้มต่ำสุดที่เป็นอันตรายต่อระบบสมองส่วนกลาง คือ 50 ppm และคนที่สูบบุหรี่และเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากโทลูอีนมากกว่าคนทั่วไป 2.หากสารโทลูอีนสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง และหากถูกเป็นเวลานาน ๆ ซ้ำที่เดิมจะทำให้ผิวหนังแห้งอักเสบเพราะสารโทลูอีนจะเข้าไปละลายชั้นไขมันในผิวหนัง 3.ถ้าไอระเหยของโทลูอีนเข้าตาควรล้างด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด โดยระดับความเข้มข้นของโทลูอีนและระยะเวลาที่ส่งผลต่อดวงตาเป็นดังนี้ ที่ระดับความเข้มข้น 300 ppm ระยเวลา 3-5 นาที และที่ระดับความเข้มข้น 100-150 ppm ระยะเวลา 6-7 นาที 4.หากกลืนกินสารโทลูอีนเข้าไปควรรีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างทันที เพราะการกลืนกินโทลูอีนเพียง 60 มิลลิลิตร อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 นาที เพราะสารโทลูอีนที่กินเข้าไปจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อปอดส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด 5.ถึงแม้หน่วยงาน International Agency for Research on Cancer (IARC), US National Toxicology Program (NTP) รายงานว่า สารโทลูอีนไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่การได้รับสารโทลูอีนของผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่ว่าจะได้รับจากทางไหน ล้วนส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้ทารกที่เกิดขึ้นมามีอวัยวะผิดปกติหรือการเกิดลูกวิธูป (Teratogenicity) และสมองมีพัฒนาการเจริญเติบโตที่ช้าอีกด้วย
การควบคุมและการป้องกันส่วนบุคคล
การบำบัดรักษา เมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเนื่องจากโทลูอีน จะต้องดำเนินการปฐมพยาบาลก่อนตามลักษณะที่ได้รับสาร คือ
การใช้ประโยชน์โทลูอีน · ใช้เป็นตัวทำละลาย (solvent) หรือทินเนอร์ (thinner) ในอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเกี่ยวกับสี อาทิ สีพ่นรถยนต์ สีทาบ้าน สีสเปรย์ งานพิมพ์สี เป็นต้น รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่ใช้ควบคู่กัน อาทิ น้ำมันชักเงา กาว เรซิน ยาง และพลาสติก เป็นต้น · ใช้เป็นสารตั้งต้น และเป็น intermediate ในการผลิตสารเคมีหลายชนิด เช่น ซัคคาริน เบนซีน ฟีนอล กรดเบนโซอิค เบนซาลดีไฮด์ เบนซิลอัลกอฮอล์ และสารอนุพันธ์ของคลอไรด์ รวมถึงใช้ในกระบวนการการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ผลิตภัณฑ์น้ำหอม และเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยากำจัดวัชพืช และยาฆ่าแมลง · ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใย อุตสาหกรรมฟอกย้อม อุตสาหกรรมผลิตหนังเทียม อุตสาหกรรมกระดาษสำหรับการเคลือบกระดาษ และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยางมะตอย
ความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของโทลูอีนที่มีต่อมนุษย์
ความเป็นพิษเรื้อรัง
สำหรับกรณีเรื้อรัง จะมีอาการของระบบสมองและประสาทส่วนกลางเรื้อรัง ได้แก่ ความจำเสื่อม สูญเสียสมาธิ เสื่อมความสามารถทางปัญญา สูญเสียความคิดริเริ่ม ขาดความสนใจในสิ่งรื่นเริง ต้องการนอนมากขึ้น อ่อนเพลีย มีอารมณ์เศร้ากังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย และกระวนกระวาย ทั้งนี้ ความเป็นพิษแบบเรื้อรัง จะไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดความมึนงงแบบรุนแรง หรือ การเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือด แต่จะก่อให้เกิดความไม่สัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว (Impairment of co-ordination) และระบบประสาทสัมผัสไม่ดี (Reaction time) ซึ่งมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น ผิวหนังไม่มีไขมัน และผิวหนังอักเสบ จากที่กล่าวมาข้างต้นเราจึงต้องมีเครื่องวัดโทลูอีนเพื่อป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และป้องกันอันตรายจากอัคคีภัย หรือไฟไหม้นั้นเอง
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ เหตุไฟไหม้โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ได้มีคำเตือนจากผู้เชี่ยวชาญถึงสารเคมีอันตรายหลายชนิดที่ปกติใช้ในงานโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก ที่นอกจากมีผลข้างเคียงคล้ายกัน เช่น ระคายเคืองทางเดินหายใจ แสบผิวหนัง ปวดศีรษะแล้ว บางชนิดหากได้รับปริมาณสูง ต่อเนื่องและนาน จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ในเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้ระบุถึงสารเคมีที่ใช้ในงานโรงงานผลิตพลาสติกโดยทั่วไปที่สำคัญ ซึ่งมีลักษณะกลิ่นและผลต่อสุขภาพ ดังนี้ เตตระคลอโรเอทธิลีน (Tetrachloroethylene) เบนซีน (Benzene) บิวทาไดอีน (Butadiene) นอกจากนี้ยังมีสารเคมีที่ชื่อว่า โทลูอีน (Toluene) กลิ่นเหมือนน้ำมันทินเนอร์ ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณความเข้มข้นสูง จะมีผลต่อประสาทส่วนกลาง อ่อนเพลีย มึนงง ไม่สามารถทรงตัวได้ ปวดศีรษะ หมดสติ และอาจถึงตายได้ หากได้รับสารนี้เป็นเวลานาน นอกจากจะเกิดความระคายเคืองตามเยื่อบุต่าง ๆ แล้ว จะมีอาการปวดศีรษะ ประสาทหลอน สูญเสียความสามารถในการจำ การคิด และการควบคุมอารมณ์. https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6522 http://pcd.go.th/info_serv/Datasmell/l3toluene.htm http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/chemical-hazards/ https://www.gcascc.com/wp-content/uploads/2018/09/Toluene_TH.pdf |