ก๊าซไข่เน่า

 ก๊าซไข่เน่า เราคงรู้จักก๊าซไข่เน่ากันพอสมควรแล้วจาก สูตรเคมี เอย ว่ามันคือ H2S และบอกว่ามันอันตรายอย่างงั้นอย่างงี้ แต่ทำไมยังมีข่าวผู้คนเสียชีวิตจากมันเรื่อยๆ ฟังแล้วก็หดหู่ใจ บทความนี้ อยากจะเล่าวิธีการ ที่มันหลอกล่อ พวกเราเข้าไปหามันแล้วกันนะครับ

1. เรามักจะได้กลิ่นมันบ้าง คล้ายกลิ่นไข่เน่า หรือ ตด แล้วกัน (บทความนี้ไม่วิชาการนะครับ วิชาการอ่านอีกบทหนึ่งได้เลยนะครับ เรื่อง พิษภัย H2Sมาแบบจางๆ ทำไมเป็นอย่างงี้เหรอ ขอบอกเลย ของแรงมันอยู่ต่ำๆ ครับ ทำให้คาดไม่ถึงไงละครับ เจออย่างงี้เราก็ไม่กลัว สิครับ (ไม่เห็นมีกลิ่นแรงเลย น่าจะโอเค ทำงานดีกว่า) เข้าทางเจ้าไข่เน่าแล้วสิ (แย่จัง เจ้าของบทความรู้สึกเสียใจนะ)

2. ส่วนใหญ่เราหาไม่ทันหรอกครับ เจ้าเครื่อง H2S Detectors เครื่องวัดไข่เน่าเนี่ย ถึงหาทันก็ไม่ค่อยตรวจสอบ หรือก็ไม่ค่อยได้สอบเทียบให้มันเท่าไร ก็ไม่รู้ใช้งานได้หรือเปล่า (อย่าถามถึง จป. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เลยนะครับ อันนี้แบบชาวบ้านๆ และแบบว่าเราคิดว่าไม่มีไรแน่เลย)

3. เราก็ลงปฏิบัติงานเลย ท่อลึกใช่เปล่า ถ้ามีกลิ่นค่อยขึ้นแล้วกัน มีเพื่อนอยู่ สบายใจ เดี่ยวช่วยทัน

4. เริ่มลงไปปฏิบัติงานได้สักระยะ เริ่มขุด เริ่มรื้อ เริ่มตอก นั่นและครับ มันเริ่มออกจากเนื้อดินแล้วครับ หรือถ้าเป็นน้ำ ก็เริ่มออกมาจากโคนที่ถูกทับถมแล้วครับ แล้วคราวนี้ไม่ได้ออกน้อยนะครับ จังหวะนี้ออกมามาก กลิ่นนี่บ้างครั้งถึงกับสำลักกันเลย คราวนี้ ผู้ปฎิบัติจะรู้ทันที่แล้ว ว่ามันมาแล้ว แต่เนืองจากกลิ่นที่รุนแรง อากาศออกซิเจนน้อย ร่างกายอยู่ในสภาวะการทำงาน ต้องการการหายใจ อย่างรวดเร็ว และถี่ เลยทำให้เราสูดดม มันอย่างรุนแรง และค่อนข้างมาก

5. เมื่อมันเข้าไปในระบบหายใจแล้ว แค่ไม่กี่จังหวะของการหายใจ จะทำให้เราหายใจติดขัดอย่างรุนแรง ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ทำให้ร่างกาย ต้องหายใจมากขึ้น ก็ยิ่งสูดดมมากขึ้น ทำให้หลายๆ ครั้ง ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถหนีออกมาได้

6. เพื่อนที่อยู่ด้านบน รีบช่วยเหลือ ผู้อยู่ด้านล่างทันที ยิ่งเข้าทางเจ้าก๊าซไข่เน่าจอมวายร้ายทันที เพราะจากกลิ่นที่เบาบางตอนนี้กลายเป็นว่ากลิ่น ไข่เน่าได้เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว และเริ่มฟุ้งกระจายเป็นวงกว้าง ประจวบกับเจ้าหน้าที่พยายามช่วยเหลือเพื่อนที่กำลังดิ้นทุรนทุราย ยิ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานพยายามจะออกแรงช่วย ยิ่งทำให้สูดดมเจ้าก๊าซไข่เน่ามากขึ้นไปอีก และจังหวะที่จับกัน ดึงกัน เลยทำให้ผู้ประสบเหตุ และผู้ช่วยเหลือ อยู่ในอันตรายทั้งคู่ จึงเป็นที่มาของข่าวร้ายเสมอๆ

ที่เล่ามาทั้งหมดก็อยากให้เรารู้ถึงพิษภัยเงียบของเจ้าก๊าซไข่เน่า และพยายามหลีกเลี่ยง และต้องทำงานโดยมีเครื่องวัดก๊าซไข่เน่า หรือ H2S Detector หมั่นนำไปสอบเทียบ ไม่ต้องรอมันครบปีก็ได้ ยิ่งสอบเทียบบ่อยเท่าไร ก็เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ปฏิบัติงานมากเท่านั้น มีตัวเติมอากาศด้วยก็จะดี และเตรียมซักซ้อมหาวิธีถ้าเกิดปัญหา ขั้นตอนควรทำอย่างไง แก้ไขอย่างไรดี ประมาณนี้ครับ ขอให้ข่าวเรื่องเจอว้ายร้ายก๊าซไข่เน่า หมดไปจากหน้าข่าว ของเราทีเถอะนะครับ บทความที่เกี่ยวข้อง H2




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
pm 2.5 คืออะไร
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
4-20 mA คืออะไร
ตัวแทนจำหน่ายในไทย เครื่องวัดแก๊สคุณภาพระดับโลกแบรนด์ Honeywell
ตู้ควบคุมอุณหภูมิและ ความชื้นคืออะไร?