ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2 คือ ก๊าซที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและค่อนข้างจะมีกลิ่นเหม็นแสบจมูก มักทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ และละลายน้ำได้ดี จนได้สารประกอบที่เป็นอันตราย และสารที่มักทำให้เกิดขึ้นเมื่อทำปฏิกิริยาคือ กรดซัลฟูริก ซึ่งมีความสามารถในการกัดกร่อนค่อนข้างรุนแรง และเมื่อสัมผัสมักทำให้เกิดการแสบร้อนและบาดเจ็บตามมาได้ หรือการสูดดมก็จะทำให้เกิดก๊าซพิษชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมา


แหล่งที่มาของ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2 ในบริเวณทั่วไปในบรรยากาศ มักพบเจอได้ประมาณ 0.02 to 0.1 ppm แต่ถ้าพบเจอสูงๆ ประมาณร้อยละ 99% มาจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมาจากกิจกรรมในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น จากการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้ถ่านหิน หรือน้ำมัน เป็นต้น กิจกรรมนี้จะทำให้เกิด กำมะถัน และ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2 จะถูกปล่อยออกมาในกิจกรรมการผลิตนี้ โดยเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลพวกนี้ และยังเกิดได้จากแหล่งที่มีการจราจรหนาแน่น โดยถูกปล่อยออกจากรถยนต์ที่เราใช้กัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับอายุของรถ และสภาพการควบคุมไอเสียของรถยนต์ ในแต่ละคันอีกด้วย
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2 ที่มีผลต่อสุขภาพ
ถ้า SO2 ทำปฏิกิริยากับ O2 หรือ Oxygen ออกซิเจน จะเปลี่ยนเป็น SO3 และถ้าเราพบการเร่งของการทำปฏิกิริยาด้วยแล้ว เช่น พวกมังกานีส เหล็ก หรือเป็นพวก Metallic Oxide จะทำให้ปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นอย่างเร็วและมากขึ้นอีกด้วย และถ้าพบในบรรยากาศ มีความชื้นสูง หรือละอองน้ำในระดับพอเหมาะ จะทำให้เกิดฝนกรด หรือ Acid Rain ซึ่งจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ เช่น แหล่งน้ำใต้ดิน และบนดิน ในที่นี้ฝนกรด คือน้ำฝนที่มีค่า PH ต่ำกว่า 5.6
เมื่อมนุษย์หายใจ เอา ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2 เข้าไปในปริมาณระดับต่างๆ จะมีผลดังนี้
ระดับ
|
ผลต่อสุขภาพ
|
0 to 300 µg/m3 or 0 to 0.1 ppm
|
ไม่มีผลกระทบ
|
300 to 600 µg/m3 or 0.1 to 0.2 ppm
|
เริ่มมีผลกระทบระดับปานกลาง แต่อาจจะเริ่มมีผลกระทบกับผู้ป่วยที่มีโรงทางเดินหายใจ
|
600 to 2,000 µg/m3 or 0.2 to 0.7 ppm
|
มีผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ป่วยที่มีโรงทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการได้รับก๊าซในระดับนี้ สำหรับคนทั่วไปไม่ควรออกทำกิจกรรมการแจ้งหรือสูดดมก๊าซในระดับนี้
|
2,000 to 9,000 µg/m3 or 0.7 to 3 ppm
|
มีผลกระทบต่อสุขภาพกับทุกคน ไม่ควรได้รับก๊าซในระดับนี้ และควรอยู่ในบ้านและปิดหน้าต่าง หรือหาแหล่งหายใจที่สะอาดกว่านี้
|
9,000 to 14,000 µg/m3 or 3 to 5 ppm
|
มีอันตรายต่อสุขภาพ อย่างมาก ทุกคน ควรออกจากพื้นที่ หรือหาแหล่งหายใจแห่งใหม่ให้ทันท่วงที และติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่สามารถช่วยเหลือต่อไป
|
ระดับมากกว่า 14,000 µg/m3 หรือ มากกว่า 5 ppm
|
เป็นระดับอันตรายสูงสุด ถือว่าเป็นพื้นที่อันตรายโดยสมบูรณ์ ไม่สามารถอาศัย หรือ อยู่บริเวณพื้นที่แหล่งนั้นได้แล้ว ถ้าสามารถไปพื้นที่อื่นได้ควรกระทำ ถ้าไม่ได้ควรปิดประตูหน้าต่างมิดชิดกันก๊าซเข้ามา หาแหล่งอากาศบริสุทธิ์ เพิ่มเติม และติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่สามารถช่วยเหลือต่อไป
|
หมายเหตุ เป็นค่าการได้รับก๊าซเฉลี่ยที่ระดับต่างๆ ในเวลาเฉลี่ย 15 นาที เด็ก คนชรา ผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงให้น้อยกว่าระดับที่ได้แจ้งไว้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนปกติ หลีกเลี่ยงการสูดดมก๊าซทุกรูปแบบ ถ้าเป็นไปได้ พยายามปิดประตูหน้าต่างเพื่อเป็นการป้องกันก๊าซ เข้ามาเป็นระดับแรก ถ้าเป็นพื้นที่เสี่ยงอยู่แล้ว ควรมีถังออกซิเจนและหน้ากากกันก๊าซพิษเอาไว้ป้องกัน ถ้าบังเอิญสัมผัสหรือโดนก๊าซพิษ มีอากาศไม่ดีหรือแสบร้อน อาจใช้ Baking soda หรือผงฟู ผสมกับน้ำในการแก้สารพิษออกจากร่างกายได้ ในอัตราส่วน ผงฟู 5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร