
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง ![]() ในปัจจุบันไม่มีบริษัทใด ที่จะหลีกหนีเรื่องการแข่งขันในการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ดีและลดขั้นตอนการผลิตให้ได้มากที่สุดเท่ากับเราได้ขยับเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น เครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องวัด NIR Moisture Analyzer จริงๆแล้ว มันไม่ได้เพียงทำการวัดได้เพียงค่าความชื้นเท่านั้น มันยังสามารถทำการวัดได้หลายค่ามากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการวัดไขมัน การวัดสารนิโคติน การวัดค่าความหวาน การวัดค่าโปรตีน การวัดค่าสี สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ของมันที่สามารถทำให้กับเราได้มากมาย แต่ไม่เพียงการวัดได้หลากหลายเท่านั้น ความเร็วในการวัด ก็เป็นตัวตอบสนองตัวแรกๆ ในการทำให้เราเลือกใช้งาน และนอกจากความเร็วในการตอบสนองแล้ว การตรวจสอบทั้งหมด โดยปราศจากการสุ่มตรวจ นับเป็นตัวเลือกที่ทำให้เราได้ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม บริษัทที่ต้องการควบคุมความชื้น หรือที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงเลือกใช้งานเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง NIR Moisture Analyzer หลักการทำงาน โดยหลักการของเครื่องจะถูกสร้างจากพลังงานขึ้นจากแหล่งจ่ายหนึ่ง เป็นตัวทำให้เกิด คลื่นความยาวแสงระดับหนึ่ง เราเรียกคลื่นนี้ว่าคลื่นอินฟราเรด Infrared แต่เนื่องจากมีความยาวคลื่นไม่ยาวมากนัก ในการที่เราต้องการใช้ เลยทำการหาความยาวคลื่นที่เหมาะสม และนั่นเองที่ทำให้เราเรียกเครื่องชนิดนี้ว่า NIR มาจาก Near Infrared หรือคลื่นอินฟราเรดระยะสั้น ซึ่งเป็นคลื่นที่อยู่ระหว่าง UV และ VNIR ดังภาพที่ปรากฎด้านล่าง
ช่วงคลื่นที่เหมาะสมสำหรับเครื่อง NIR
ระดับช่วงคลื่นที่นำมาใช้ ในเครื่อง NIR ประมาณ 1,100 ถึง 2,500 nm
หลักการของเครื่อง โดยแสงจะถูกสร้างจากแหล่งกำเนิดแสงในความเข้มข้นระดับสูงมีความทนทานในการใช้งานอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้งานต่อเนื่องและอาจมีสภาวะการทำงานที่ไม่ปกติ หรือการทำงานที่ยาวนาน และสภาพการทำงานที่รุนแรง โดยจะปล่อยลำแสงผ่าน Filter ในระดับที่เหมาะสมในการวัดนั้นๆ เช่นการวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง NIR Moisture Analyzer เป็นต้น
ลักษณะการทำงานภายในของเครื่อง NIR
เครื่องจะทำการส่งลำแสง NIR ที่เหมาะสมถึงวัสดุดังภาพที่ปรากฎ และตัววัตถุจะดูดกลืนแสง และลำแสงที่ส่งผ่านกลับไปยังเครื่องตัวรับหรือเราเรียกว่า NIR Detector ในสภาวะนี้ลักษณะทางเคมีอาจเรียกว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลที่แสงตกกระทบ และดูดกลืน ซึ่งมีพันธะที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธะของคาร์บอนและไฮโดรเจน (C-H) พันธะไนโตรเจนและไฮโดรเจน (N-H) พันธะระหว่างออกซิเจนและไฮโดรเจน (O-H) เป็นต้น โดยการดูดกลืนแสงจะขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือสินค้านั้นๆ เมื่อคลื่นได้รับคลื่นแสงที่ถูกส่งกลับมา หลังจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ทำการดูดกลืนแสงแล้วไปส่วนหนึ่ง จึงทำให้เครื่องทราบระดับแสงที่ส่งออกไป กับแสงที่ถูกนำกลับมา มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วนำมาคำนวณหาค่าความแตกต่างของลำแสงทั้งสอง ทำให้เครื่องสามารถตอบค่าการวัด ที่เราต้องการจะทำการหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลอ้างอิงเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง NIR Moisture Analyzer หรือ Spectroscopy
http://en.wikipedia.org/wiki/Near-infrared_spectroscopy
http://en.wikipedia.org/wiki/Analyte
แบรนด์ Sensortech ได้เป็นผู้บุกเบิกเครื่อง NIR มาตั้งแต่ปี 1983 (2526) หรือ 33 ปี ที่ผ่านมา
ชอบบทความนี้กด Like ให้ด้วยนะครับ หรือมีข้อสงสัยติดต่อทางบริษัทได้เลยนะครับ |