
ก๊าซมีเทน ก๊าซมีเทน ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซไม่มีสีไม่มีกลิ่นและมีความไวไฟสูง และค่อนข้างเบากว่าอากาศดังนั้นจึงทำให้มันมักจะลอยสะสมอยู่ด้านบน หรือสะสมบริเวณด้านบน ซึ่งอาจทำเกิดอัคคีภัยได้อย่างง่ายดาย และเป็นส่วนประกอบหลักในก๊าซธรรมชาติซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับบ้านเรือนและให้พลังงานความร้อนกับคนทั่วโลก ตลอดจนก๊าซมีเทนคิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่มนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ก๊าซมีเทนมีพันธะทางโมเลกุล มี 4 ขาของไฮโดรเจน จับกับพันธะ คาร์บอน 1 อะตอม เราจึงได้ CH4 เป็นสูตรเคมีง่ายๆ ที่อาจจะไม่ง่ายเหมือนชื่อ เพราะความอันตราย และการใช้งานที่ต้องการ ความระมัดระวังอย่างสูง ตามราชกิจจานุเบกษา หน้า 12 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ได้กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ ในหัวข้อ 2 มีก๊าซ ไอ หรือละองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit) ห้ามเกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งถ้าแปลงค่าเป็นหน่วย เปอร์เซ็นต์ จะเท่ากับ 0.5% volume เท่านั้น แปลว่ากฎหมายกำหนดค่าไว้ที่ต่ำมาก แต่ป้องกันสูงมาก เพื่อป้องกันอัคคีภัย ที่อาจจะเกิดขึ้น ก๊าซมีเทนในธรรมชาติ มีความสำคัญสำหรับการผลิตไฟฟ้าอย่างมาก โดยการเผาตัวมันให้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องกำเนิดพลังงานต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนอื่นๆ ก๊าซมีเทนจะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าสำหรับความร้อนในแต่ละหน่วย ที่ 891 kJ / mol ความร้อนจากการเผาไหม้ของมีเทนนั้นต่ำกว่าไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามมันผลิตความร้อนต่อมวล (55.7 kJ / g) มากกว่าโมเลกุลอินทรีย์อื่น ๆ เนื่องจากมีปริมาณไฮโดรเจนค่อนข้างมากซึ่งคิดเป็น 55% ของความร้อนจากการเผาไหม้ แต่มีสัดส่วนเพียง 25% ของมวลโมเลกุล ของมีเทน ในหลายๆเมืองก๊าซมีเทนจะถูกส่งเข้าไปในบ้านแหล่งชุมชนต่างๆ เพื่อเพิ่มความร้อนและปรุงอาหารในครัวเรือนและชุมชน ในบริบทนี้จึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นก๊าซธรรมชาติซึ่งมีปริมาณพลังงาน 39 เมกะจูลต่อลูกบาศก์เมตรหรือ 1,000 บีทียูต่อหนึ่งลูกบาศก์ฟุตมาตรฐาน ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จะมีก๊าซมีเทนส่วนใหญ่ (CH4) ที่ถูกเปลี่ยนเป็นรูปของเหลวเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บหรือขนส่งต่อไป ก๊าซมีเทนมีสถานะเบากว่าอากาศและมีแรงโน้มถ่วงเฉพาะ 0.554 ละลายได้ในน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มันจะเผาไหม้ในอากาศอย่างรวดเร็วกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ เปลวไฟซีดจาง ๆ และร้อนมาก จุดเดือดของก๊าซมีเทนคือ −162 ° C (−259.6 ° F) และจุดหลอมเหลวคือ −182.5 ° C (−296.5 ° F) ก๊าซมีเทนโดยทั่วไปจะมีความเสถียรมาก แต่การผสมก๊าซมีเทนและอากาศโดยมีก๊าซมีเทนอยู่ระหว่าง 5 ถึง 14 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรจะสามารถทำให้มันเกิดการระเบิดได้ การระเบิดของสวนผสมดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายๆ กรณีทั่วโลก ดังนั้นเราควรคำนึงทุกครั้งในการใช้ ก๊าซมีเทนกันนะครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรรู้เกี่ยวกับก๊าซมีเทนในกรณีฉุกเฉิน เมื่อเรารู้ว่ามันปราศจากกลิ่นและสี (ในกรณีก๊าซ LPG มีการเติมกลิ่นนะครับ) เราควรจะจัดเก็บมันในที่มีอากาศถ่ายเท ปราศจากความร้อนสูง หรือหลีกเลี่ยง ออกซิเจน Oxygen ในกฎสามเหลี่ยมการเกิดไฟ ที่ได้เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้า ก๊าซมีเทนสามารถสะสมตัวเองในที่สูงดังนั้นต้องระวังพื้นที่ปิดด้านบนเมื่อต้องการจัดเก็บควรมีช่องระบายให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงความเข้มข้นสูงๆ จากก๊าซมีเทน เพราะอาจทำให้เราได้รับปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจ เพราะก๊าซมีเทนจะเข้าไปแทนที่ตัวออกซิเจน Oxygen ที่เราต้องการได้ ในกรณีที่มีการผิดพลาดและมีจำนวนก๊าซมีเทนจำนวนมาก ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันไฟไหม้ เช่นจำกัดแหล่งกำเนิดประกายไฟ ในกรณีที่ขาดออกซิเจน ใช้ความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของคุณเองก่อนที่จะพยายามช่วยชีวิตผู้อื่น (เช่นสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม) เคลื่อนย้ายผู้ได้รับสารไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ให้พักในท่าที่สบายสำหรับการหายใจ หากหายใจลำบากบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมควรดูแลและเตรียมถังก๊าซออกซิเจนในกรณีฉุกเฉิน หากหัวใจหยุดทำงานบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมควรเริ่มการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) หรือการช็อกไฟฟ้าจากภายนอก (AED) โดยอัตโนมัติ โทรถึงศูนย์พิษวิทยาหรือแพทย์ทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน และดำเนินการส่งไปยังโรงพยาบาลต่อไป |