pm 2.5 คืออะไร

pm 2.5 คืออะไร pm 10 คืออะไร pm 0.1 คืออะไร pm 0.3 คืออะไร มีคนถามกันเยอะ งั้นเรามาทำความรู้จักกับเจ้า pm ต่างๆ กันดูครับ 

PM คืออะไร และมันเข้ามาอยู่ในอากาศที่เราหายใจได้อย่างไร
PM มาจากคำว่า Particulate Matter แปลเป็นไทยได้ว่า อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือเราจะเรียกอีกอย่างก็ได้ว่า มลพิษทางอนุภาค เป็นการผสมผสานของอนุภาคของแข็งและของเหลวในอากาศ เช่นฝุ่นทั่วไป สิ่งสกปรก เขม่า ควันจางๆซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ควันขนาดใหญ่ ที่ทำให้เราเห็นได้อย่างง่ายดาย และฝุ่นชนิดอื่นๆ ที่ทางนักวิทยาศาสตร์หรือผู้สนใจสามารถค้นหาได้ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ระดับอิเล็กตรอน หรือ Electron Microscope

PM ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง (pm 10, pm 2.5, pm 1, pm 0.3)

1.       จะประกอบด้วย PM10 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่าแต่จะอยู่ราวๆ 10 ไมโครเมตรเป็นหลัก

2.       จะประกอบด้วย PM2.5 ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมโครเมตรหรือเล็กกว่าแต่จะอยู่ราวๆ 2.5 ไมโครเมตรเป็นหลัก (อ้างอิงเส้นผมของมนุษย์เฉลี่ยทั่วไปในโลก จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางโดยประมาณที่ 50 ถึง 70 ไมโครเมตร) ดังนั้นมันจึงมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์เฉลี่ยทั่วไปถึง 30 เท่าโดยประมาณ

3.       จะประกอบด้วย PM1, PM0.5 และ PM0.3 อีกด้วย

การวัดฝุ่น

การวัดฝุ่น

แหล่งกำหนดของ PM (pm 10, pm 2.5, pm 1, pm 0.3)
          มีแหล่งกำเนิดด้วยกันหลายที่หลายแบบ มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่สารประกอบทางเคมีและรูปลักษณะในการเกิดปฏิกิริยา บางส่วนถูกปล่อยออกมาโดยตรงจากแหล่งกำเนิด บางแห่งถูกปล่อยออกมาจากสถานที่ที่ไม่ได้ตั้งใจ เช่น งานก่อสร้าง งานสร้างถนน การเผาทุ่งนา และการปล่อยโดยตรงจากแหล่งอุตสาหกรรม และการจราจร อนุภาคส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศจากปฏิกิริยาทางเคมี เช่น เกิดจากสารประกอบทางด้าน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
         ซึ่งมันเป็นมลพิษที่ถูกปล่อยจากพลังงานทางด้านฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหิน มาในรูปของโรงงานอุตาสาหกรรม และรถยนต์ในการจราจรในเมืองเป็นหลัก

วัดฝุ่นละออง

อันตรายจาก PM ซึ่งมีผลต่อเราโดยตรง (pm 10, pm 2.5, pm 1, pm 0.3)
 
             ขนาดและอนุภาคของมันมีผลต่อเราโดยตรง ยิ่งมีอนุภาคเล็กมากเท่าไรยิ่งมีผลต่อความสามารถในการทลุทลวนเข้าสู้ปอดของเราและบางกรณีสามารถเข้าสู้กระแสเลือดได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอนุภาคที่ได้กล่าว ส่วนมากเราจะคำนึงถึง อนุภาคหรือ PM ที่น้อยกว่า PM10 ลงไป ปัญหาที่สามารถรวบรวมได้จากการศึกษาทางด้านแพทย์และทางด้านวิทยาศาสตร์มีดังนี้
เสียชีวิตก่อนวัยอันควรในภาวะผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือผู้ที่เป็นโรคทางปอด

 หัวใจวาย
 หัวใจขาดเลือดอย่างฉับพลัน มาจากผลของการแข็งตัวของเลือด
 การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ร่างกายต้องเพิ่มอัตราการหายใจมากขึ้น มีผลกระทบโดยตรงต่อหัวใจ
ผลต่อปริมาณเซลล์ในเม็ดเลือด
มีฝุ่นเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดการหมุนเวียนได้ไม่ดี
 มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
การเต้นของหัวใจผิดปกติ
กล้ามเนื้อหัวใจตายในภาวะผู้ใหญ่
โรคหอบหืดกำเริบ เพิ่มปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจและทำให้อาการหอบหืดมากขึ้น
ลดการทำงานของปอดและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบเพิ่มเติม
อาการผิดปกติทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่นการระคายเคืองของทางเดินหายใจไอหรือหายใจลำบาก
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือปอด เด็กและผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการสัมผัสกับมลพิษจากอนุภาค PM ในระดับต่างๆ กันไป
 ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หายขาดยากขึ้นไปอีก
 เกิดโรคทางหลอดเลือดและโรคหัวใจเรื้อรัง
เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือเป็นมะเร็งปอดในที่สุด

 PM มีผลต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร (pm 10, pm 2.5, pm 1, pm 0.3)
ทำให้ทัศนีย์ภาพในการมองเห็นลงต่ำลง
อนุภาคของฝุ่น PM สามารถถูกพาไปในระยะทางไกลโดยลมและตกลงบนพื้นดินหรือน้ำ ผลของการตกตะกอนนี้อาจรวมถึงทำให้ทะเลสาบและลำธารเป็นกรด
การเปลี่ยนแปลงสมดุลของสารอาหารแร่ธาตุในน้ำชายฝั่งและแอ่งน้ำขนาดใหญ่
ทำลายสารอาหารในดิน
สร้างความเสียหายให้กับป่าไม้และพืชไร่
ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของระบบนิเวศในธรรมชาติ
มีส่วนทำให้เกิดฝนกรด
มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
มีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช
PM สามารถปนเปื้อนและทำลายหินและวัสดุอื่น ๆ รวมถึงวัตถุสำคัญทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย เช่นรูปปั้นและอนุสาวรีย์ต่างๆ ผลกระทบเหล่านี้บางส่วนเกี่ยวข้องกับผลกระทบจากฝนกรดบนวัสดุด้วย

การตรวจติดตามคุณภาพอากาศของประเทศไทย จะใช้มาตรฐานดังนี้

สารมลพิษ

ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นในเวลา

ค่ามาตรฐาน

เทคนิคการวัด

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน

24 ชม.

 

ไม่เกิน 0.33 มก/ลบ..

Gravimetric High Volume

 

ปี

ไม่เกิน 0.10 มก/ลบ..

 

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน

24 ชม.

 

ไม่เกิน 0.12 มก/ลบ..

Gravimetric High Volume/Beta Ray/TEOM/Dichotomous

 

ปี

ไม่เกิน 0.05 มก/ลบ..

 

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน

24 ชม.

 

ไม่เกิน 0.05 มก/ลบ..

Federal Reference Method, FRM (US EPA)/Beta Ray Attenuation/TEOM/Dichotomous

 

ปี

ไม่เกิน 0.025 มก/ลบ..

 

  วัดฝุ่นละออง

ตารางเปรียบเทียบค่าความแตกต่างค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กรวมถึงเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO และเกณฑ์ระดับค่าสีของคุณภาพอากาศ (pm 2.5)

ะดับฝุ่นขององค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO)

การแปลความหมายคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO)

สีที่ใช้ขององค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO)

สีที่ใช้ของกรมควบคุมมลพิษประเทศไทย

การแปลความหมายคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษประเทศไทย

ระดับฝุ่นของกรมควบคุมมลพิษประกาศ

0 - 25

คุณภาพอากาศดี

 

 

คุณภาพอากาศดีมาก

0 - 25

26 - 50

คุณภาพอากาศดี

 

 

คุณภาพอากาศดี

26 - 50

51-100

คุณภาพอากาศปานกลาง

 

 

คุณภาพอากาศปานกลาง

51-100

101-150

เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

 

 

เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

101-150

151-200

มีผลกระทบต่อสุขภาพ

 

 

เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

151-200

201-300

มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก

 

 

มีผลกระทบต่อสุขภาพ

201-300

301-500 

มีความเป็นอันตรายเป็นอย่างมาก

 

 

มีผลกระทบต่อสุขภาพ

301-500  

 วิธีมาตรฐานการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่
 10 (.. 2538) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป

 ระบบ กราวิเมตริก (Gravimetric) –การวัดค่าฝุ่นละอองโดยดูดอากาศผ่านแผ่นกรอง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นละอองขนาด 0.3 ไมครอน (Micron) ได้ร้อยละ 99 แล้วหาน้ำหนักฝุ่นละอองจากแผ่นกรองนั้น

 • ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.12 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่ามัชฌิมเรขาคณิตของสารดังกล่าวในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.15 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

  การวัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง หรือในเวลา 1 ปี ให้ใช้วิธีการวัดตามระบบ กราวิเมตริก หรือระบบอื่นที่กรมควบคุมมลพิษให้ความเห็นชอบ

 การวัดหาค่าค่าฝุ่นละอองให้ทาในบรรยากาศทั่วๆ ไปและต้องสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 1.5เมตร แต่ไม่เกิน 6 เมตร 

วิธีมาตรฐานการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (.. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป

  กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไปค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.025 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 วิธีตรวจวัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละออง ให้ใช้วิธีตรวจวัดมาตรฐาน Federal Reference Method (FRM) ตาม US EPA หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศ

 การวัดหาค่าค่าฝุ่นละอองให้ทาในบรรยากาศทั่วๆ ไปและต้องสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 1.5 เมตร แต่ไม่เกิน 6 เมตร

วิธีมาตรฐานการตรวจวัดฝุ่นละอองในปล่องระบาย
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.. 2549 เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

 กำหนดมาตรฐานฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate)อากาศที่ระบายออกจากโรงงานตามประเภทของแหล่งที่มา/แหล่งกำเนิด

 การตรวจวัดค่าฝุ่นละออง ให้ใช้วิธีตาม US EPA กำหนด หรือใช้วิธีตามมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า

 การคำนวณความเข้มข้นฝุ่นจากปล่องระบาย (pm 10, pm 2.5, pm 1, pm 0.3)
การคำนวณความเข้มข้นของฝุ่นจากปล่องระบาย, TSP

                 𝑇𝑆𝑃=𝑊/𝑉𝑚(𝑠𝑡𝑑)

 where W   ผลรวมน้าหนักฝุ่นจาก petri dish และขวดเก็บตัวอย่างโดยหักน้าหนักตกค้างของน้าล้าง acetone ออก 
   Vm(std)    ปริมาตรอากาศที่สภาวะมาตรฐาน

วัดฝุ่นละออง pm2.5

อ้างอิงแหล่งข้อมูล จาก www.epa.gov (U.S. Environmental Protection Agency)

อ้างอิงแหล่งข้อมูล จาก เอกสารการสอนเรื่อง การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการตรวจวัดฝุ่นละอองในปล่องระบายและบรรยากาศโดยดร.บรรฑูรย์ ละอองศรี นักมาตรวิทยาชำนาญการพิเศษ




Gas Articles

Oxygen ออกซิเจน article
Carbon Monoxide ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ article
การแปลงหน่วย ระดับ ppm ppb ppt
ความดัน
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) หรือ SO2
H2S article
Carbon dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นจากเสียงสองแหล่ง
ชนิดของความดัน
ก๊าซมีเทน
เอทิลีน คือ
การวัดอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ Water Vapor Transmission Rate article
การวัดอัตราการซึมผ่านของออกซิเจน Oxygen Transmission Rate (OTR) article
การวัดอัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Transmission Rate (CO2TR)
ใบรับรองการสอบเทียบจะมีอายุเท่าไร สามารถระบุลงไปได้หรือไม่อย่างไร?
IP Rating
ใส่ไนโตรเจนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เครื่องวัดก๊าซ แก๊ส
เครื่องวัดแก๊สรั่วและวิธีใช้เครื่องวัดแก๊ส
แก๊สและสมบัติของแก๊ส
ISO17025 สอบเทียบเครื่องวัดแก๊ส
ข้อกำหนดเรื่องการสอบเทียบในระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015
O3 พิษภัยของแก๊สโอโซน
NOx พิษภัย article
Toluene พิษภัย
Nitrogen Dioxide NO2 พิษภัย
NH3 แอมโมเนีย
ฟอร์มาลดีไฮด์
Benzene เบนซีน
ตารางความดัน
ก๊าซไข่เน่า
ฟอสฟีน คืออะไร
Biogas ก๊าซชีวภาพ article
พิษภัย VOCs article
Modified Atmosphere Packaging(MAP) การบรรจุแบบปรับบรรยากาศ article
Modified Atmosphere Packaging (MAP) การบรรจุภัณฑ์แบบปรับบรรยากาศ ภาค 2 article
Dew Point and RH ความเข้าใจและความแตกต่างของทั้งสอง
Indoor Air Quality
Wattmeter วัตต์มิเตอร์
หลักการ NIR สำหรับเครื่องวัดความชื้นแบบต่อเนื่อง article
Lower Explosive Limit การป้องกันการติดไฟ และการระเบิด article
แคลมป์มิเตอร์
ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
คาร์บอนไดออกไซด์คืออะไรและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
การย่อยสลายขยะชีวภาพแบบไม่ใช้ออกซิเจน
พื้นที่เก็บข้อมูลควบคุมบรรยากาศ (CA)
บรรจุภัณฑ์ดัดแปลงบรรยากาศ การยืดอายุการเก็บรักษาอาหารที่เน่าเสียง่าย
พืชสวน การวัดค่าคาร์บอนไดออกไซด์
ระบบปรับอากาศ การทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศ
การควบคุมกระบวนการ เครื่องตรวจสอบก๊าซที่ควบคุมการอบชุบโลหะด้วยความร้อน
เหมืองแร่ โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูง
การผลิตก๊าซชีวภาพและการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Total Organic Carbon (TOC) โซลูชันการตรวจจับก๊าซคุณภาพสูงสำหรับการวิเคราะห์ TOC
การตรวจสอบก๊าซจากหลุมฝังกลบและการจัดการก๊าซจากหลุมฝังกลบด้วยการตรวจจับก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์
การควบคุมการปล่อย CO2 ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับก๊าซเพื่อการเกษตร
NDIR CO2 Sensors
ก๊าซไนโตรเจนในอุตสาหกรรม (Nitrogen gas in the industry)
การคัดนกในการต่อสู้กับโรคไข้หวัดนก (Bird Culling in the Battle Against Avian Flu)
เซ็นเซอร์ CO2 สำหรับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (CO2 Sensors for Nuclear Power Plant Safety)
การวัด CO2 สำหรับเครื่องดื่มอัดลมและความปลอดภัยของโรงเบียร์ (CO2 Measurement for Drink Carbonation and Brewery Safety)
การตรวจจับแก๊สรั่วด้วยเซนเซอร์ (Gas Leak Detection with Edinburgh Sensors)
การใช้น้ำแข็งแห้ง อันตรายและความปลอดภัย (Dry Ice Uses, Hazards and Safety)
CEMS ของกรมโรงงาน (CEMS Online ของกรมโรงงาน)
เอทิลีนออกไซด์ คือ(Ethylene Oxide)
มาตรฐาน iso 17025 ของห้องปฏิบัติการ
CEMS Analyzer
Sulfur hexafluoride (SF6)
ก๊าซฮีเลียม (Helium)
ตู้ดูดควัน ห้องปฏิบัติการ ( Fume Hood )
กฎหมายการติดตั้ง gas detector(มาตรฐานการติดตั้ง gas detector )
กฎหมาย สถาน ที่เก็บ ก๊าซ LPG (การจัดเก็บถังแก๊ส LPG)
4-20 mA คืออะไร
ตัวแทนจำหน่ายในไทย เครื่องวัดแก๊สคุณภาพระดับโลกแบรนด์ Honeywell
ตู้ควบคุมอุณหภูมิและ ความชื้นคืออะไร?