Gas Articles


ตารางความดันตารางความดัน

 ตารางความดันสามารถปรับเปลี่ยนหน่วยได้หลากหลาย

ขึ้นอยู่กับประเทศ การใช้งาน ความเป็นมาตรฐาน 
ดังนั้นผู้ที่นำไปใช้ควรเข้าใจถึงการแปลงหน่วยที่เหมาะสมและนำไปใช้
เราจะมีตารางไว้หลายหน่วย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาได้เพิ่มเติม

ก๊าซไข่เน่าก๊าซไข่เน่า

ก๊าซไข่เน่า เราคงรู้จักก๊าซไข่เน่ากันพอสมควรแล้วจาก สูตรเคมี เอย ว่ามันคือ H2S และบอกว่ามันอันตรายอย่างงั้นอย่างงี้ แต่ทำไมยังมีข่าวผู้คนเสียชีวิตจากมันเรื่อยๆ ฟังแล้วก็หดหู่ใจ บทความนี้ อยากจะเล่าวิธีการ ที่มันหลอกล่อ พวกเราเข้าไปหามันแล้วกันนะครับ 

อันดับแรกเลย เรามักจะได้กลิ่นมันบ้าง คล้ายกลิ่นไข่เน่า หรือ ตด แล้วกัน (บทความนี้ไม่วิชาการนะครับ วิชาการอ่านอีกบทหนึ่งได้เลยนะครับ เรื่อง พิษภัย H2S) มาแบบจางๆ ทำไมเป็นอย่างงี้เหรอ ขอบอกเลย ของแรงมันอยู่ต่ำๆ ครับ ทำให้คาดไม่ถึงไงละครับ เจออย่างงี้เราก็ไม่กลัว สิครับ (ไม่เห็นมีกลิ่นแรงเลย น่าจะโอเค ทำงานดีกว่า) เข้าทางเจ้าไข่เน่าแล้วสิ (แย่จัง เจ้าของบทความรู้สึกเสียใจนะ) 

ฟอสฟีนฟอสฟีน คืออะไร

PH3 คือ ก๊าซ (PH3 or H3P) หรือ ฟอสฟีน เป็นก๊าซไม่มีสี โดยมีกลิ่นคล้ายปลาเน่าหรือกระเทียม จุดเดือด -126 ° F; จุดเยือกแข็ง -209 ° F เป็นพิษมากเมื่อสูดดมที่ความเข้มข้นต่ำมาก(หรืออาจสูดดมในปริมาณต่ำมากก็เป็นพิษมากเหมือนกัน)  เป็น สารรมควันที่ใช้กำจำมอดและแมลงในข้าว

ฟอสฟีนเป็นก๊าซ ไม่มีสี ไวไฟและระเบิดได้ที่อุณหภูมิแวดล้อม ซึ่งมีกลิ่นคล้ายกระเทียมหรือปลาเน่า ปริมาณเล็กน้อยเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการแตกตัวของสารอินทรีย์ ละลายได้ในน้ำเล็กน้อย ฟอสฟีนถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และพลาสติกในการผลิตสารหน่วงไฟและใช้เป็นยาฆ่าแมลงในการเก็บรักษาเมล็ดพืช

ฺBiogasBiogas ก๊าซชีวภาพarticle

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับก๊าซชีวภาพ (Introduction to Biogas)

ก๊าซชีวภาพ เป็นก๊าซที่เกิดจากการนำของเสีย หรือของที่ถูกทิ้งในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบ้านเรือน (Waste Water Treatment plant, Food Processing Company and Farm, and School, House) มาทำให้เกิดกระบวนหมัก เพื่อให้ได้ก๊าซที่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นพลังงาน โดยอาศัยการเจริญเติบโตของแบคทีเรียมาทำให้เกิดปฏิกิริยาทางกระบวนการย่อยสลาย และทำให้เกิดก๊าซ

กล่าวคือเป็นกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยใช้แบคทีเรีย และปรับเปลี่ยนสภาวะโดยปราศจากออกซิเจน (Oxygen) โดยจะใช้แบคทีเรียในการสร้างมีเทน เราเรียกกลุ่มนี้ว่า (Methanogens bacteria) และ พวกที่ไม่สร้างมีเทน (Non-Methanogens bacteria) โดยกลุ่มแรกจะมีหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำให้เกิดก๊าซมีเทน (CH4) โดยก่อนที่เราจะได้ก๊าซมีเทน เราจะต้องผ่านขั้นตอนและขบวนการบำบัดในหลายขั้นตอน ก่อนที่จะนำก๊าซมีเทนมาใช้นะครับ เนื่องจากในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์นั้น จะมีก๊าซหลายชนิด และกากจากขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ รวมทั้งความชื้นอีกด้วย

สารประกอบอินทรีย์ (VOCs)พิษภัย VOCsarticle

VOCs หรือ Volatile Organic Compounds
 คือ สารประกอบอินทรีย์ ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน Carbon และไฮโดรเจนHydrogen เป็นองค์ประกอบหลัก ตามความหมายองค์การอนามัยโลก (The World Health Organization) มีอยู่ในอุปกรณ์หลากหลาย และมักพบมากในรูปแบบก๊าซ gas หรือการระเหยสาร VOCs หรือ Volatile Organic Compounds ที่เรามักพบบ่อยมากในชีวิตประจำวัน ได้แก่ Acetone, Benzene, Ethylene glycol, Formaldehyde, Methylene chloride, Perchloroethylene, Toluene, Xylene, 1,3-butadiene แหล่งที่เราสามารถพบ VOCs หรือ Volatile Organic Compounds ได้ง่ายและใกล้ตัว ได้แก่ พรม กาว งานไม้ที่ถูกทำขึ้นรูปให้เหมือนไม้จากธรรมชาติ สีทาบ้าน

[Go to top]